
เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปเดินที่ไหนก็มักจะเห็นป้ายเขียนว่า “Tax Free” เต็มไปหมด นั่นก็เพราะว่าร้านขายสินค้า
ปลอดภาษีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง และเมื่อเดือน
พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับระบบการขอยกเว้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า VAT ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ให้มีความสะดวกสบายในการช็อปปิ้งมากยิ่งขึ้น ทีนี้เรามาดูกันว่าระบบการยกเว้นภาษีของญี่ปุ่นตอนนี้
เป็นแบบไหน รับรองว่าการช็อปปิ้งที่ญี่ปุ่นครั้งต่อไปจะสนุกมากขึ้นแน่นอน
ไม่ว่าจะซื้อร้านไหนก็ขอภาษีคืนได้หรอ?

การขอภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT คืนนั้น สามารถทำได้เฉพาะการซื้อสินถ้าจากร้านค้าภายในสนามบิน
ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานสรรพากรของญี่ปุ่นเท่านั้น
ในปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เอาท์เล็ทมอลล์ และย่านช็อปปิ้งต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มมีการจัดทำ
เคาน์เตอร์สำหรับขอคืนภาษีเพิ่มมากขึ้น แม้แต่ร้านขายปลีกเล็กๆบางร้านก็สามารถขอคืนภาษีได้เช่นกัน
ถ้าร้านนั้นๆได้มีการแปะป้ายสัญลักษณ์ร้านค้าปลอดภาษี (รูปด้านล่าง) ไว้

คนที่ไม่สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้มีใครบ้างล่ะ?

・ ผู้ที่เข้าประเทศผ่านประตูอัติโนมัติที่สนามบิน และไม่มีตราปั๊มแสดงวันที่เข้าประเทศอยู่ในพาสปอร์ต
・ ผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาเกิน 6 เดือน
・ ผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
・ ยอดชำระค่าสินค้าไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ระบบการขอคืนภาษีนั้นมีไว้สำหรับบุคคลที่ไม่ถือว่าไม่เป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งบุคคลที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นคือ ชาวต่างชาติที่มีกำหนดการพำนัก
อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยอยู่ในต่างประเทศ
และมีกำหนดการกลับมาพำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ยอดชำระสินค้าขั้นต่ำคือเท่าไหร่?

ตามปกติแล้วคือ ยอดการซื้อสินค้าในร้านค้าเดียวกันภายใน 1 วัน เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 เยน
(ไม่รวมภาษี) สำหรับห้างสรรพสินค้าหรือย่านช็อปปิ้งที่มีเคาน์เตอร์ทำเรื่องขอคืนแยกภาษีนั้น
สามารถรวมใบเสร็จของร้านค้าภายในศูนย์การค้านั้นๆได้ โดยที่จะต้องมียอดซื้อสินค่าเป็นมูลค่า
มากกว่า 5,000 เยน (ไม่รวมภาษี) แต่ว่า สินค้าแต่ละประเภทนั้นมีการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่แตกต่าง
กันไป ซึ่งอาจจะทำให้มูลค่ารวมที่สินค้าที่นำมาคำนวน มียอดไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดได้
สินค้าที่เข้าเกณฑ์การขอคืนภาษีมีอะไรบ้าง?

สำหรับบุคคลที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นเป็น
การซื้อเพื่อใช้เอง มิใช่เพื่อธุรกิจ โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีการนำสินค้าที่ซื้อมาออกไปนอกประเทศ
ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าทั่วไป และสินค้าอุปโภคบริโภค
ข้อควรระวังในการขอคืนภาษีสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค
สินค้าอุปโภคบริโภคนั้นจะถูกบรรจุใส่ในถุงสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะ (ถุงที่ถูกออกแบบ
มาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรู้ได้หากมีการเปิดถุง) และห้ามเปิดถุงดังกล่าวก่อนออกนอกประเทศ
สำหรับยอดรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทั่วไปนั้นจะไม่นำมาคิดรวมกันเวลาขอคืนภาษี
ดังนั้นควรจะตรวจสอบมูลค่าและประเภทของสินค้าให้รอบคอบ ซึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำในการขอภาษีคืนนั้นคือ
มูลค่ารวมของสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด หรือมูลค่ารวมของสินค้าทั่วไปทั้งหมด จะต้องมีมูลค่า
เกิน 5,000 เยน (ไม่รวมภาษี)
ขั้นตอนการขอภาษีคืน

ขั้นตอนการขอภาษีคืนนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละร้านค้า แต่หลักจะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน คือ
(A) แสดงพาสปอร์ตตอนชำระเงิน เพื่อหักภาษีออกจากราคาทันที
(B) หลังจากที่ชำระค่าสินค้าทั้งหมดแล้ว จะต้องไปทำเรื่องขอรับเงินภาษีที่จ่ายไปคืน ณ เคาน์เตอร์
สำหรับขอภาษีคืน ซึ่งเมื่อไปถึงแล้ว จะต้องมีการแสดงสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมด ใบเสร็จ และพาสปอร์ต
โดยจะต้องขอภาษีคืนภายในวันที่มีการซื้อสินค้า
<สิ่งที่ต้องทำที่ร้านค้าเมื่อต้องการขอภาษีคืน>
1) แสดงพาสปอร์ต
ผู้ซื้อสินค้าจะต้องทำการแสดงพาสปอร์ตของตนเอง (ต้องเป็นพาสปอร์ตตัวจริงเท่านั้น) โดยทางร้าน
จะทำการตรวจสอบ ชื่อ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด สถานะการพำนัก วันที่เดินทางเข้าประเทศ
และรหัสพาสปอร์ต
2) กรอกข้อมูลสินค้าที่ซื้อ
ทางร้านจะกรอกข้อมูลสินค้าที่ซื้อลงในใบ “บันทึกรายการสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก” จากนั้น
จะทำการติดใบดังกล่าวไว้ในพาสปอร์ตของผู้ซื้อสินค้า ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บไปในตอนที่เดินทาง
ออกจากประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นห้ามดึงออกก่อนขึ้นเครื่องบินกลับบ้านเด็ดขาด
3) เซ็นลายมือชื่อผู้ซื้อ
ผู้ซื้อจะต้องเซ้นลายมือชื่อกำกับเพื่อเป็นการตกลงว่าจะทำตามข้อตกลงด้านล่าง
・ จะนำสินค้าทั่วไปออกนอกประเภท
・ จะไม่ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อมา และจะนำออกไปนอกประเทศภายใน 30 วันหลังจากซื้อสินค้า
・ หากไม่ได้นำสินค้าดังกล่าวติดตัวไปด้วยในวันที่เดินทางออกนอกประเทศ ก็ยินดีที่จะค่าปรับทั้งหมด
4) การชำระค่าสินค้าและการรับสินค้า
ในกรณีที่เป็นแบบ (A) จะทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และรับสินค้าเลย แต่ถ้าเป็นในกรณี (B) จะเป็นการ
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไป ซึ่งหากมีการขอคืนสินค้าในภายหลังจนทำให้มุลค่ารวมของสินค้าทั้งหมด
ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การขอภาษีคืนจะถือว่าเป็นโมฆะ และจะต้องมีการชำระภาษีทั้งหมด
<สิ่งที่ต้องทำที่สนามบิน>
5) แสดงใบบันทึกสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบพาสปอร์ตและสินค้าที่ซื้อมา จากนั้นจะเก็บใบบันทึกรายการสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก ซึ่งสินค้าที่ทำการขอภาษีคืนนั้น ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้นำออกนอกประเทศทั้งหมด
6) เดินทางออกนอกประเทศ
หากผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว จะถือว่าขั้นตอนการขอภาษีคืนทั้งหมดเสร็จสิ้นลง
รายชื่อร้านค้าปลอดภาษีหลักๆ

ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าร้านค้าที่มีป้าย “Tax Free” นั้นมีเพิ่มมากขึ้น แม้แต่ร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่
ยังเริ่มมีการขยายสาขาที่เปิดรับบริการขอคืนภาษี ร้านค้าบางร้านก็ถึงขนาดมีบริการพิเศษให้แก่ลูกค้า
ชาวต่างชาติเลยทีเดียว เราได้รวบรวมรายชื่อร้านค้าปลอดภาษีหลักๆมาให้คุณที่ลิสด้านล่างนี้แล้ว
- ยูนิโคล่
- กว่า 760 สาขา ทั่วประเทศได้มีการเปิดให้บริการขอภาษีคืน
- บิ๊กคาเมร่า
- เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิขอภาษีคืนจะไม่สามารถทำการสะสมพ้อยได้ จึงมีการให้คูปองหรือส่วนลดเมื่อชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตแทน
- ยามาดะเด็นกิ
- เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิขอภาษีคืนจะไม่สามารถทำการสะสมพ้อยได้ จึงมีการให้คูปองหรือส่วนลดเมื่อชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตแทน
- ดองกิ โฮเต้
- กว่า 310 สาขาทั่วประเทศสามารถให้บริการขอคืนภาษีได้ และมีการแจกบัตรสมาชิกสำหรับ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ “Yokoso Discount Passport” ซึ่งมีสิทธิพิเศษต่างๆมากมาย
- มัทสึโมโตะ คิโยชิ
- กว่า 220 สาขาทั่วประเทศ เปิดให้บริการขอคืนภาษี
- อิออน
- กว่า 630 สาขาทั่วประเทศ เริ่มเปิดให้บริการขอคืนภาษี ในจำนวนนี้ไม่รวมร้านค้าที่เป็นของ
ห้างอิออนมอลล์ (การบริการอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา) และมีการแจกคูปองส่วนลดพิเศษ
ที่หน้าโฮมเพจ
- เอาท์เล็ทมอลล์
- Shisui Premium Outlets
Okinawa Outlets Mall Ashibinaa
- อื่นๆ ห้างสรรพสินค้าต่างๆ
- Odakyu Shinjuku
Keio
Tobu Ikebukuro
Tokyu Plaza Ginza
Matsuya Ginza
Lumine Shinjuku เป็นต้น
- ร้านสะดวกซื้อ
* เฉพาะบางสาขา
* จำเป็นต้องแสดงพาสปอร์ตที่แคชเชียร์ - เซเว่น-อีเลฟเว่น
แฟมิลี่มาร์ท
ลอว์สัน
คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่ 1
“Duty Free (DFS)” กับ “Tax Free” ต่างกันอย่างไร?
คำตอบ
การยกเว้นภาษีนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) ศุลกากรไม่เก็บภาษีหรือที่เรียกว่า Duty Free กับ
2) การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกว่า “Tax Free” นั่นเอง ซึ่งร้าน Duty Free มักจะอยู่ตามสนามบิน
ถ้าหากเป็นนอกเขตสนามบินก็จะมีแค่ไม่กี่ร้าน เช่น T Galleria Okinawa จังหวัดโอกินาว่า
คำถามที่ 2
สิ่งที่จำเป็นในตอนที่ซื้อของหรือตอนที่ทำเรื่องขอภาษีคืนมีอะไรบ้าง?
คำตอบ
สิ่งที่จำเป็นในตอนที่ซื้อของก็คือต้องทำการแสดงพาสปอร์ตของผู้ซื้อ (ตัวจริงเท่านั้น) แต่ถ้าหากเป็น
การขอทำเรื่องขอภาษีคืนที่เคาน์เตอร์ทำเรื่องคืนภาษีแล้วล่ะก็ ต้องใช้ พาสปอร์ตตัวจริง ของที่ซื้อ
และใบเสร็จ
คำถามที่ 3
ลืมพาสปอร์ตไว้ที่โรงแรม วันรุ่งขึ้นค่อยมาทำเรื่องขอภาษีคืนได้มั้ย?
คำตอบ
การทำเรื่องขอภาษีคืนนั้นจำเป็นที่จะต้องทำภายในวันเดียวกันกับที่ซื้อสินค้านั้นๆ เพราะฉะนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้องนำพาสปอร์ตติดตัวไปด้วยเสมอ และต้องไปทำเรื่องขอภาษีคืนจากร้านที่ซื้อสินค้านั้นๆ
มาเท่านั้น
คำถามที่ 4
ขอให้คนอื่นช่วยทำเรื่องขอภาษีคืนแทนได้มั้ย
คำตอบ
ไม่สามารถทำได้ ผู้ที่ทำเรื่องขอภาษีคืนจะต้องเป็นผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆเท่านั้น
คำถามที่ 5
ที่พาสปอร์ตไม่มีตราประทับแสดงวันเข้าประเทศเพราะใช้ประตูอัตโนมัติ
แบบนี้จะขอทำเรื่องขอภาษีคืนได้หรือปล่าว?
คำตอบ
ถ้าไม่มีตราประทับแสดงวันที่เข้าประเทศจะได้สามารถทำเรื่องขอภาษีคืนได้ เพราะฉะนั้น หลังจากที่
ออกมาจากประตูอัตโนมัติแล้ว ก็ตรงดิ่งไปขอให้เจ้าหน้าที่ประทับตราแสดงวันที่ไว้เลย
คำถามที่ 6
หลังจากที่ทำเรื่องขอคืนภาษีแล้ว จะเอาของมาใช้ในช่วงที่ยังอยู่ที่ญี่ปุ่นได้มั้ย?
คำตอบ
ถ้าเป็นสินค้าทั่วไป ก็สามารถใช้ได้เลย ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วล่ะก็ห้ามใช้เด็ดขาด
ไม่งั้นการขอภาษีคืนจะกลายเป็นโมฆะนะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน
คำถามที่ 7
ของที่ทำเรื่องขอภาษีคืนมาแล้วจะต้องหิ้วขึ้นเครื่อง หรือโหลดลงใต้เครื่อง?
คำตอบ
เนื่องจากศุลกากรของญี่ปุ่นอยู่ถัดจากเคาน์เตอร์เช็คสัมภาระ เพราะฉะนั้น โดยทั่วไปแล้วจะต้องนำของ
ที่ทำการขอคืนภาษีแล้วติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยเพื่อที่ศุลกากรจะสามารถเช็คของได้
คำถามที่ 8
พวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องสำอางที่เป็ฯของเหลวไม่สามารถเอาขึ้นเครื่องไปด้วยได้
แล้วแบบนี้จะทำยังไงดี?
คำตอบ
เนื่องจากการบินระหว่างประเทศมีข้อกำหนดให้ไม่สามารถพวกของเหลวที่มีจำนวนเกิน 100 ml
ติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยได้ ไม่งั้นจะถูกยึดตอนตรวจกระเป๋า ในกรณีแบบนี้ ให้ใส่ไว้ในกระเป๋าแล้ว
โหลดใต้เครื่องได้ ตอนที่ผ่านศุลกากรก็ให้แจ้งว่าได้ทำการใส่สิ่งของเหล่านั้นไว้ที่กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง
คำถามที่ 9
หลังจากที่ทำเรื่องขอภาษีคืนเสร็จแล้ว ให้คนอื่นช่วยเอากลับแทนได้มั้ย?
คำตอบ
สิ่งที่ถูกยกเว้นภาษีไม่สามารถส่งต่อให้กับบุคคลที่สามได้ ผู้ที่ถือกลับจะต้องเป็นผู้ที่ซื้อเท่านั้น
Photo credit (main image): Tupungato / Shutterstock.com
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.
Recommended places for you
-
กูรูด้านอาหารต้องรู้! รวมคำศัพท์ “เฉพาะเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น” ที่สามารถใช้ได้ในร้านอาหาร
-
เส้นทางยอดนิยมสำหรับท่องเที่ยวอะตะมิ
-
[คู่มือท่องเที่ยวนิกโก้] ไม่ได้มีเพียงแค่ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น! ยังรวบรวมกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำในแต่ละฤดูกาล
-
เสน่ห์ของการชมดอกไม้ที่อุเอโนะ โตเกียว ทั้ง 4 ฤดูกาล (ผลิ ร้อน ร่วง หนาว) และข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ