รูปแบบสถาปัตยกรรมของศาลเจ้า

รูปแบบสถาปัตยกรรมของศาลเจ้า

Last updated: 8 ส.ค. 2561

จากพื้นที่ตั้งแต่โตเกียวไปจนถึงโอซาก้า ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนศาลเจ้ามากมาย มีศาลเจ้าหลากหลายตั้งแต่ศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างอยู่บนเนินเขาหรือในป่าไผ่ ไปจนถึงศาลเจ้าขนาดเล็กที่อยู่ริมถนนหนทาง สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกสร้างมามีรูปแบบคล้ายคลึงกัน อีกทั้งศาลเจ้า และถูกดูแลโดย “คันนุชิ” (พระในศาสนาชินโต) และ ”มิโกะ” (หญิงสาวที่ทำงานอยู่ในศาลเจ้า)

การสร้างวัดและศาลเจ้า

การสร้างวัดและศาลเจ้า

วัดและศาลเจ้านั้นมีรูปแบบการก่อสร้างที่แตกต่างกัน โดยสามารถแยกความแตกต่างด้วยลักษณะของหลังคา
รูปแบบการก่อสร้างเหล่านี้ จะเรียกว่า “Tsukuri” (การก่อสร้าง) ซึ่งมาจากคำว่า “Tsukuru”(ก่อสร้าง) ที่มีความหมายว่า ทำ ก่อสร้าง ในภาษาญี่ปุ่น รูปแบบการก่อสร้างวัดและศาลเจ้า ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมและคำสอนในพระพุทธศาสนาจากประเทศจีน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับยุคสมัย ฉะนั้นลองมาดูสถาปัตยกรรมบางส่วนที่เป็นแบบฉบับในการก่อสร้างกัน

สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมญี่ปุ่น “โครงสร้างแบบชินเม” (Shinmei-zukuri)

สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมญี่ปุ่น “โครงสร้างแบบชินเม” (Shinmei-zukuri)

อาคารตามแบบฉบับการสร้างแบบชินเม คือศาลเจ้า Ise Jingu ในจังหวัดมิเอะ ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ดูสวยงาม เรียบง่าย ย้อนกลบไปตั้งแต่สมัยญี่ปุ่นโบราณจนถึงยุคโคะฟุง (ปี250-538)
ศาลเจ้าแบบชิเมถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ที่ยังไม่แปรรูป แบบยกพื้นสูง คุณลักษณะพิเศษอยู่ที่หลังคาทรงสามเหลี่ยมซึ่งประดับด้วยวัสดุที่เรียกว่า “Chigi “ และ “Katsuogi”

“โครงสร้าง Taisha” รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น

“โครงสร้าง Taisha” รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น

เป็นหนึ่งในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาชินโต ด้วยรูปแบบโครงสร้างที่สร้างสรรค์เมื่อเปรียบเทียบกับศาลเจ้าอื่นๆ และมีคุณลักษณะของบ้านญี่ปุ่นโบราณ เสาตรงกลางที่มีชื่อเสียงที่ถูกเรียกว่า “ชินโนมิฮาชิระ”
ศาลเจ้าที่สร้างด้วยแบบไทชะที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือศาลเจ้าอิซุโมะในจังหวัดชิมะเนะ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนี้ หลังคาซึ่งมีรูปทรงที่เพรียวบางสวยงาม บุด้วย “ฮิวาดาบุคิ”(ต้นสนฝานเป็นแผ่นบางๆ)ซ้อนกันด้วยความหนา1เมตร ศาลในปัจจุบันได้รับการรับรองให้เป็นมรดกแห่งชาติ ที่สร้างขึ้นสมัยเอโดะปีที่1 (ปี1744) หลังคาเป็นโครงสร้างแบบ “Kirizumazuri” (หลังคาหน้าจั่ว) แบบเดียวกับโครงสร้างชินเม แต่โครงสร้างแบบชินเมเป็นแบบ “ฮิไรอิริ”(ทางเข้าด้านข้าง) ส่วนแบบไทชะนั้นจะเป็นแบบ “ทสึไมอิริ”(ทางเข้าด้านหน้า) ในปัจจุบันซึ่งมีสูง24เมตร ซึ่งสูงเป็นเท่าตัวกว่าในสมัยเฮอันจนถึงยุคคะมะคุระ

ความงดงามของศาลาหงส์ (วัดเบียวโด)

ศาลาหงส์เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของตระกูลขุนนางในสมัยก่อน แต่เดิมถูกเรียกว่า “Amidado” ซึ่งมีลักษณะเหมือนหงส์สยายปีก โดยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยภายหลังเปลี่ยนมาเรียกว่า “Hooudo” (ศาลาหงส์) ซึ่งได้ถูกนำมาเป็นเขียนลงด้านหลังของเหรียญ10เยน และถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด เกียวโต

ลักษณะของวัดและศาลเจ้า

ลักษณะของวัดและศาลเจ้า

จากนี้ไปขอแนะนำสิ่งก่อสร้างทั่ไป สิ่งที่อยู่ภายในวัดและศาลเจ้า

โทริอิ : คือประตูของศาลเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่แบ่งอาณาเขตระหว่างโลกมนุษย์และโลกของเทพเจ้า ศาลเจ้าที่มีโทริอิมากกว่า1นั้นมีมากมาย อย่างเช่น ศาลเจ้าฟุชิมิอินะริไทชะ ในจังหวัดเกียวโต ซึ่งมีโทริอิมากกว่า1หมื่นต้น ศาลเจ้าส่วนใหญ่ที่มีโทริอิเพียงต้นเดียวก็มีเช่นกัน นอกจากนี้แล้วเวลาที่เดินลอดโทริอิ ไม่ควรที่จะเดินตรงกลาง ควรเลียงไปทางด้านข้าง เพราะเชื่อว่าตรงกลางนั้นเป็นที่สำหรับเทพเจ้าเดินผ่าน

ซันโด:เป็นทางเดินที่เชื่อมต่อไปยังศาลเจ้า เป็นทางที่สำหรับผู้ที่มาสักการะได้เดินไปยังศาลเจ้าหรือไว้เตรียมตัวเพื่อเดินไปยังศาลเจ้า บรรดาผู้ที่ตั้งแถวรอเพื่อเข้าไปสักการะศาลเจ้านั้น ควรยืนรอด้วยความสำรวม

โชซุยะ:บ่อน้ำสำหรับชำระล้างร่างกายและจิตใจ เรียกว่า”โชซุยะ” มีทั้งในศาลเจ้าและวัด ผู้ที่จะเข้าไปในวิหารเพื่อสักการะเทพเจ้า จะล้างมือและล้างปากที่บ่อน้ำแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของวิหาร

โคมไฟ:โคมไฟหินที่เรียงรายอยู่ทางเดินในศาลเจ้า ซึ่งเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา โคมไฟแต่ละอันจะเป็นตัวแทนของธาตุทั้ง5 ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ เปรียบไว้ว่าเมื่อคนเราตายไปก็จะกลับไปสู่ธาตุทั้ง5ดั้งเดิม

คะกุระเด็ง(ศาลา): “คะกุระ”คือการเต้นและร้องเพลงเพื่อถวายแก่เทพเจ้า โดยจะแสดงที่ “คะกุระเด็ง” นอกจากนี้ยังใช้ประกอบพิธีหรือจัดงานอย่างเช่น พิธีแต่งงาน หรือละครโนห์ มีเฉพาะที่ศาลเจ้า

เอมะ:ไม้แผ่นเล็กๆไว้สำหรับเขียนคำอธิษฐานต่อเทพเจ้า ผู้ที่ไปสักการะที่ศาลเจ้าหรือที่วัด จะเขียนคำอธิษฐานลงบนแผ่นไม้นี้ถวายต่อเทพเจ้า รูปบนเอมะนั้นมีหลากหลาย สามารถหาซื้อได้ที่วัดและศาลเจ้า

ศาลเจ้าหลักและศาลเจ้ารอง :ศาลเจ้าขนาดเล็กซึ่งถูกสร้างขึ้นภายในบริเวณศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของเทพองค์อื่นๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เทพเจ้าอื่นๆที่ประดิษฐานได้อยู่ที่ศาลเจ้าแห่งนั้น

โคมะอินุ:สิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายกับสุนัขและสิงโต ถูกสร้างขึ้นไว้ที่หน้าวิหารหลักของศาลเจ้าหรือวัด เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในบริเวณวัดหรือศาลเจ้าได้ นอกจากนี้ยัฃมีสัตว์ชนิดอื่นๆอย่างเช่น ศาลเจ้าอินาริซึ่งมีรูปปั้นสุนัขจิ้งจอก หรือ ศาลเจ้าเทนมังกู ซึ่งมีรูปปั้นวัว

ไฮเด็น: เป็นสถานที่สำหรับไว้ไหว้พระขอพร ซึ่งถูกสร้างขึ้นอยู่ด้านหน้าวิหารหลัก บางครั้งมีการทำพิธีหรือกิจกรรมทางศาสนาด้วย ซึ่งก็สามารถสักการะเทพเจ้าตรงบริเวณนี้ซึ่งเป็นสถานที่ระหว่างวิหารหลักและโถงบูชา

ทะมะกะคิ :รั้งที่แบ่งระหว่างพื้นที่ของวิหารหลักและศาลเจ้า

ศาลหลัก:เป็นสถานที่ประดิษฐานของเทพเจ้า ในกรณีที่มีมากมาย จะมีวัตถุบูชาอย่างเช่นกระจก ในทางตรงกันข้ามหากเป็นวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

จิกิและคะสึโอกิ:เป็นส่วนประกอบไว้สำหรับตกแต่งหลังคาของศาลเจ้า รูปแบบของหลังคาจะมีความโค้งงอ ซึ่งทำให้แบ่งแยกความต่างระหว่างศาลเจ้าและวัดได้

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

ค้นหา