HOME รู้ไว้! เวลาคนญี่ปุ่นชวนไปบ้าน จะได้ไม่โป๊ะ!
รู้ไว้! เวลาคนญี่ปุ่นชวนไปบ้าน จะได้ไม่โป๊ะ!

รู้ไว้! เวลาคนญี่ปุ่นชวนไปบ้าน จะได้ไม่โป๊ะ!

Last updated: 28 ก.ย. 2563

เมื่ออาศัยอยู่่ในญี่ปุ่นนานเข้า ก็อาจจะมีคนญี่ปุ่นชวนไปที่บ้านบ้าง ถึงแม้ว่ามารยาท กฎต่างๆ จะแตกต่างออกไปตามแต่ละบ้าน แต่ก็สิ่งที่ถือว่าเป็นมารยาทพื้นฐานเวลาไปเยี่ยมบ้านอยู่ และบางอย่างในนั้นก็เป็นลักษณะพิเศษของญี่ปุ่น

หากรู้กฎและมารยาทต่างๆ เอาไว้ ไมเพียงแต่เราจะสนุกไปด้วยได้แล้ว ยังถือว่าเป็นการทำความเข้าใจฝ่ายตรงข้ามอย่างลึกซึ้งอีกด้วย ดังนั้นกฎมารยาทเหล่านี้จึงอาจหมายถึงการแสดงความเคารพแก่บ้านที่จะไปอีกด้วย ครั้งนี้จะลองลิสต์กฎมารยาทต่างๆ เวลาไปบ้านคนญี่ปุ่นให้ได้รู้จักกัน

ต้องถึงตามเวลาที่นัดหมาย

ต้องถึงตามเวลาที่นัดหมาย

แน่นอนว่าไม่ว่าจะประเทศไหน การมาถึงตามเวลานัดเป็นมารยาทพื้นฐานอย่างหนึ่ง แต่ที่ญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างเข้มงวดเป็นพิเศษ มาถึงเร็วกว่าเวลานัดมากเกินไปก็ไม่ดีเพราะเจ้าบ้านอาจจะเก็บกวาดหรือเตรียมอาหารอยู่ก็เป็นได้ ในทางกลับกันหากมาช้ากว่าเวลานัด ก็อาจจะทำให้เจ้าบ้านโกรธได้เพราะอุตส่าห์จัดการบริหารตารางเวลาเพื่อคุณ แน่นอนว่าหากคุณมีเหตุผล เช่น รถไฟมาช้า ก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ว่าอย่างไรก็แนะนำให้ไปตรงตามเวลาที่นัดไว้เป็นดีที่สุด

ถ้าจะพาคนอื่นไปด้วยต้องเชคกับเจ้าบ้านก่อน

ถ้าจะพาคนอื่นไปด้วยต้องเชคกับเจ้าบ้านก่อน

หากต้องการพาเพื่อนหรือแฟนไปด้วย ต่อให้เป็นคนที่ทางนู้นรู้จักก็ตามจะต้องบอกล่วงหน้า หากอยู่ๆ พาไปโดยไม่บอกกล่าวอะไร ถือเป็นการเสียมารยาทอย่างมาก แน่นอนว่าทางนู้นคงจะไม่ปฏิเสธคุณอยู่แล้ว แต่ว่าอาหาร เครื่องดื่มหรือที่นั่งอาจจะไม่พอก็ได้ ซึ่งเป็นการรบกวนเจ้าบ้านนั่นเอง

เอาของฝากติดมือไปด้วย

เอาของฝากติดมือไปด้วย

วัฒนธรรมอย่างหนึ่งสำหรับหลายๆประเทศ สำหรับการไปเยี่ยมบ้านคนอื่นครั้งแรก ควรจะซื้อชุดผลไม้ชั้นดี ไวน์ขวด หรือของหวานไปด้วย ซึ่งญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน สำหรับชาวญี่ปุ่นจะดีใจมากกับพวกผลไม้ หรือขนม ของฝากเล็กๆ น้อยๆ กระจุ๋มกระจิ๋ม

ไม่จำเป็นต้องเป็นของราคาแพง แต่ใส่ถุงที่ดูดี และมอบให้เจ้าของบ้านอย่างมีมารยาทก็ถือว่าเป็นการแสดงการขอบคุณแล้ว ซึ่งทางนู้นก็จะคิดว่าคุณนั้น “เอาใจใส่ต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่น” ทั้งนี้คนญี่ปุ่นจำนวนมาก เวลาจะมอบของฝากมักจะพูดว่า “เป็นของเล็กๆน้อยๆนะคะ” เพื่อเป็นการไม่ออกนอกหน้าว่าเตรียมของฝากมาอย่างดีนั่นเอง

ขอรบกวนด้วยนะคะ/ครับ! (โอะจามะชิมัส)

ขอรบกวนด้วยนะคะ/ครับ! (โอะจามะชิมัส)

ญี่ปุ่นก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ เมื่อถึงบ้านเจ้าบ้านก่อนอื่นก็ต้องกดออด กล่าวทักทาย และขอบคุณที่เชิญมาในวันนี้ ที่ญี่ปุ่นนั้นก่อนเข้าบ้านของคนอื่นจะกล่าวว่า “ขอรบกวนด้วยนะคะ/ครับ” ซึ่งเป็นประโยคที่มีความหมายว่า ขอบคุณที่จัดสรรเวลาและจัดเตรียมของต่างๆ เพื่อให้ฉันมาบ้าน นั่นเอง

ถอดรองเท้า

ถอดรองเท้า

เป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นจะไม่ใส่รองเท้าในบ้าน แต่ว่าจะถอดรองเท้าตอนไหนดีล่ะ

โดยทั่วไป บริเวณทางเข้าของบ้านจะสร้างให้ต่ำกว่าบริเวณส่วนของบ้านเล็กน้อย ซึ่งบริเวณนี้เป็นบริเวณที่เอาไว้ถอดรองเท้า บางครั้งอาจมีบางคนที่ขึ้นมาบนพื้นบ้านก่อนถอดรองเท้า แล้วก็ปล่อยทั้งอย่างนั้น แต่จริงๆ แล้ว ไม่ควรวางรองเท้าไว้บนพื้นบ้านด้านบน

รองเท้าที่ถอดไว้ควรจะวางให้ปลายรองเท้าหันหน้าเข้าหาประตู ถือเป็นมารยาทในการการวางรองเท้าบริเวณทางเข้า การทำแบบนี้ทำให้ใส่รองเท้าได้ง่ายจขึ้นตอนขากลับ

ใส่สลิปเปอร์

บ้านของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเตรียมสลิปเปอร์ไว้ให้ แม้จะมีบ้านที่ไม่ใส่สลิปเปอร์ในบ้าน หากสลิปเปอร์ถูกเตรียมเอาไว้ และคนอื่นก็ใส่กันอยู่ เราก็ควรจะใส่ตาม ทั้งนี้ควรจะใส่ถุงเท้าหรือถุงน่องเวลาไปบ้านคนอื่น เพราะการเดินด้วยเท้าเปล่าถือว่าเป็นเรื่องที่เสียมารยาท

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ในบ้านญี่ปุ่นจะเตรียมสลิปเปอร์สำหรับห้องน้ำไว้ด้วย ก่อนเข้าห้องน้ำก็ให้เปลี่ยนสลิปเปอร์ เมื่อเสร็จแล้วก็เปลี่ยนกลับ นอกจากนี้เวลาเข้าห้องที่ปูด้วยเสื่อทาทามิ โปรดจำไว้ว่า “ต้องถอดสลิปเปอร์” และเมื่อจะเดินทางกลับ ก็ให้ถอดสลิปเปอร์แล้ววางคืนเข้าที่เดิมเหมือนตอนมา

ควรจะนั่งตรงไหน

ควรจะนั่งตรงไหน

เมื่อทักทายเข้าบ้านแล้ว ก็จะมาที่ห้องนั่งเล่น ควรจะรอให้เจ้าบ้านบอกให้เรานั่งตรงไหนถึงจะดีที่สุด เพราะบางครอบครัวจะมีตำแหน่งที่นั่งกันประจำอยู่แล้วนั่นเอง เพื่อไม่เป็นการขโมยเก้าอี้นั่งของใคร ควรจะถามว่า “นั่งตรงไหนดีครับ/ดี” หรือรอจนกว่าเจ้าบ้านพูดจะดีที่สุด

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทการรับประทานอาหาร การใช้อุปกรณ์ในการรับประทานทานนั้น เป็นกฎพิเศษของแต่ละบ้าน ถ้าอยู่ถึงตอนจะรับประทานอาหาร ให้คอยสังเกตดูว่าคนในบ้านทำยังไง แล้วก็ทำตาม ทั้งนี้คนญี่ปุ่นนั้นเมื่อกินอาหารของใคร จะคอยชมว่า “อร่อย” “รสชาติดีมาก” เป็นต้น เพื่อเป็นการเอ่ยชมถึงคนทำอาหารว่าอาหารที่เตรียมมานั้นดีแค่ไหน

หากไม่คอมเมนต์อะไรเลย ก็จะไม่รู้เลยว่าอาหารนั้นถูกปากหรือเปล่า เพราะฉะนั้นควรจะชมออกปากด้วย และต่อให้มีวัตถุดิบที่ไม่ชอบอย่างนัตโตะเพียงใด ก็ไม่จำเป็นต้องฝืนกิน การบอกไปตรงๆ ให้เจ้าบ้านเข้าใจ ว่า “ไม่ค่อยถนัดครับ/ค่ะ” จะดีกว่า แต่ว่าก็ห้ามใช้ประโยคที่ดูเหมือนจะปฏิเสธอาหารนั้นตรงๆ

ช่วยเก็บของ

ช่วยเก็บของ

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะเก็บโต๊ะและล้างข้าวของหลังจากรับประทานอาหารโดยทันที ในตอนนี้ควรมีมารยาทเอ่ยบอกว่า “จะช่วยครับ/ค่ะ” แม้ว่าเจ้าบ้านอาจจะปฏิเสธ แต่ก็ไม่ควรยอมแพ้ภายในครั้งเดียว ต้องลองพูดอีกคร้ั้งดู แล้วเจ้าบ้านจะต้องรู้สึกขอบคุณ แล้วก็ต้องบอกให้ทำตัวตามสบาย แน่ๆ ในเวลานี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำความรู้จักเจ้าบ้านหรือแขกคนอื่นๆ ควรจะพูดคุยเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานไปในวันนี้ หรือการตกแต่งบ้านเป็นต้น

ไม่ควรอยู่นาน!

ไม่ควรอยู่นาน!

หลังจากที่ลิ้มรสอาหารจนน่าพึงพอใจแล้ว การยืนยืดแข้งยืดขาหรือเชคมือถือบ่อยๆ ก็ดี เป็นสิ่งที่ดูว่าเรานั้นทำตัวสบายเกินไป ไม่ควรจะมองมือถือมาก และควรจะสนทนากับเจ้าบ้านและครอบครัวของเจ้าบ้าน

การนอนกลิ้งบนโซฟ้า ยืดขา หรือนอนหลับนั้นถือว่าไร้มารยาท ไม่เป็นการให้เกียรติต่อสิ่งของในบ้านของเจ้าบ้าน หรือหากดื่มจนเมา พูดคุยหัวเราะเสียงดังก็อาจเป็นการรบกวนเพื่อนบ้าน เพราะฉะนั้นหากเป็นคนที่ชอบทำนิสัยแบบนั้น เวลามาบ้านคนอื่นควรจะระวังไม่ประพฤติตนแบบนั้นเด็กขาด

แล้วจะมาใหม่นะครับ/ค่ะ!

แล้วจะมาใหม่นะครับ/ค่ะ!

หากแค่มาท่องเที่ยว คงไม่ค่อยมีโอกาสได้มาสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก การได้มาเยี่ยมบ้านคนญี่ปุ่นจึงถือเป็นประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือน และเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามต่อเจ้าบ้านด้วย ถ้าคิดว่าอยากให้เจ้าบ้านชวนมาบ้านล่ะก็จะต้องให้ความสำคัญกับความประพฤติ และจำกฎมารยาทการมาเยี่ยมบ้านของคนญี่ปุ่นให้ดีนะ

*เป็นข้อมูลสำหรับลงบทความเท่านั้น

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

ค้นหา