HOME Nougaku (ละครโน)
Nougaku (ละครโน)

Nougaku (ละครโน)

Last updated: 14 มี.ค. 2560

ละครโน หรือ Nougaku เป็นการแสดงพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่รวมเอาละครโน และละคร Kyogen (ละครตลกตบตาที่ใช้เล่นแทรกละครโน) เข้าด้วยกัน ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากยูเนสโก
โดยบนเวที นักแสดงจะแสดงการร่ายรำไปพร้อมกับเนื้อเรื่อง โดยจะไม่แสดงแค่เพลงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษของความเป็นญี่ปุ่นเป็นจุดเด่นด้วยเช่นกัน

ประวัติความเป็นมาของละครโน

ประวัติความเป็นมาของละครโน

ต้นกำเนิดของละครโนมาจากละคร "Sarugaku”ที่มาจากประเทศจีน ซึ่งตรงกับสมัยนารา หรือราวปีค.ศ. 700โดยละคร Sarugaku ที่มีการเลียนแบบท่าทางพร้อมกับการแสดง และการแสดงบทเพลงที่ฟังดูเป็นตลกขบขันนั้น ได้รับความนิยมในฐานะการแสดงมหรสพที่จัดขึ้นตามวัดและศาลเจ้า และแพร่หลายไปยังหมู่คนทั่วไปในเวลาต่อมา ในปัจจุบัน ละครโนสามารถรับชมได้ในหลายพื้นที่ในญี่ปุ่นในฐานะการแสดงพื้นบ้านและพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และยังเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศเป็นอย่างมาก

นักแสดงละครโน

นักแสดงละครโน

นักแสดงหลักของละครโนจะเรียกว่า "Shi-te" โดยไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังมีบทครอบคลุมหลากหลายบทบาท ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้า นักรบ วิญญาณและวิญญาณหญิงสาว ปีศาจสาว เท็นงู (วิญญาณบนภูเขา มีจมูกยาวและผิวสีแดง) หรือเทพเจ้ามังกร และผู้ที่แสดงร่วมกับ Shi-te จะเรียกว่า "Waki" มีบทบาท
สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในแทบทุกบทแสดง

เพลงในละครโน

เพลงในละครโน

การแสดงของนักดนตรีที่เล่นเพลงที่ให้เข้ากับแต่ละฉาก เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเวทีละครโน เครื่องดนตรีที่ใช้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของละครโน โดยเครื่องดนตรีที่ใช้นั้นมีขลุ่ย (ที่เวลาเป่าจะขนานกับพื้น) เรียกว่า "Noukan” กลองเล็กที่สะพายไหล่ กลองใหญ่ที่คาดไว้ที่เอว กลองใหญ่ที่ใช้ไม้ตี ใหญ่
โดยนักดนตรีจะออกเสียง เสียงยะ (Ya-goe) และเสียงฮะ (Ha-goe) เพื่อเพิ่มความสนุกสนานครื้นเครงอีกด้วย

เวทีละครโน

เวทีละครโน

เวทีที่ถูกนำมาใช้แสดงละครโนจะทำมาจากไม้ Ennoki (ไม้ชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น) โดยเฉพาะโรงละครโนสาธารณะที่มีชื่อเสียงอย่าง "โรงละครโนแห่งชาติ" และโรงละครโนบนน้ำของศาลเจ้า Ikutsushima ที่ถูกเลือกให้เป็นมรดกโลก

ข้อแนะนำในการชมละครโนให้เพลิดเลิน

ข้อแนะนำในการชมละครโนให้เพลิดเลิน

เพื่อความเพลิดเพลินมากขึ้นของผู้ชมละครโนก่อนเข้าชมละครโน ควรซื้อ "Shishou (บทร้อยแก้วและ
ร้อยกรอง) มาจากโรงละครโนเสียก่อนจะดีกว่า เพราะบทร้อยแก้วและร้อยกรองที่เป็นบทการแสดงนั้น จะมีเขียนเรื่องราว ตัวละครที่ปรากฎ ตำแหน่ง และยุคสมัยที่ใช้ในการดำเนินเรื่องเอาไว้ให้อย่างชัดเจน

มารยาทการชมการแสดง

มารยาทการชมการแสดง

การไปชมการแสดงละครโนนั้นไม่มีการกำหนดเครื่องแต่งกายเฉพาะเอาไว้ทำให้สามารถเข้าไปชมด้วยเสื้อผ้าลำลองได้ แม้ในสมัยก่อนจะมีการส่งเสียงเรียกหรือปรบมือระหว่างการแสดงอยู่ก็จริง แต่ในปัจจุบันผู้ชมมัก
จะไม่ค่อยปรบมือกันสักเท่าไรนัก การชมละครอย่างสงบเงียบจึงเป็นมารยาทขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของละครโน

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

 
ค้นหา