HOME ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

Last updated: 12 มิ.ย. 2562

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่ง่ายต่อการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น แผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น นอกจากนี้ตั้งแต่ญี่ปุ่นได้เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ก็ได้วางนโยบายมาตราการการป้องกัน อย่างไรก็ตามการป้องกันชีวิตตนเองคือหลักสำคัญในการเตรียมตัว ประเภทขอองภัยพิบัติที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ว่าต้องทำสิ่งใดในเวลาณะนั้น

พายุไต้ฝุ่น

พายุไต้ฝุ่น

พายุไต้ฝุ่นเกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นเดียวกับพายุเฮอริเคนในคาบมหาสมุทรแอตแลนติก ในญี่ปุ่จะเกิดพายุประมาณ11ครั้งต่อปี โดยจะเกิดในช่วงตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงใบไม้ร่วง โดยทั่วไปพายุไต้ฝุ่นจะพัดจากทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้โดยเพิ่งกำลังลมพัดไปยัง ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยไต้ฝุ่นจะเข้าสู้ชายฝั่งญี่ปุ่นหรือไม่ก็พัดขึ้นเข้าในบริเวณประเทศญี่ปุ่นด้วย ในช่วงฤดูพายุไต้ฝุ่นนั้น เครื่องบิน รถไฟอาจจะหยุดบริการได้ง่าย ซึ่งถ้ามาท่องเที่ยวในช่วงนี้ ควรตรวจสอบสภาพอากาศด้วย

สิ่งที่ควรรับมือเมื่อพายุไต้ฝุ่นมา

สิ่งที่ควรรับมือเมื่อพายุไต้ฝุ่นมา

พยายามที่จะไม่ออกไปข้างนอกเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านมาพราะอาจจะเกิดน้ำท่วม น้ำหลากฉับพลันจึงควรอยู่ให้ห่างจากแหล่งน้ำ อย่างเช่นแม่น้ำ ทะเล ไม่ใช่เพียงพายุไต้ฝุ่นเท่านั้นควรระวังมักจะเกิดฝนตกอย่างหนักด้วยเช่นกัน ถ้าหากอยู่ในห้องควรห่างออกมาจากหน้าต่างเนื่องจากมีลมพัดแรง ลมที่แรงจะพัดเอา
ให้สิ่งของปลิวมกระทบกรจกหน้าต่างให้แตกและได้รับบาดเจ็บได้ อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบพยากรณ์อากาศและข่าวก่อนออกไปข้างนอก

แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว

ตามที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่า ประเทศญี่ปุ่นในแต่ละปีจะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 5000 ครั้ง ใน3800ครั้งนั้นจะมีขนาดความรุนแรงตั้งแต่ 3 จนถึง 3.9 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อย และบางครั้งก็เกิดแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน การที่แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมากมายเนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเปลือกโลกที่ต่างกัน 4 แผ่น ด้วยนี้เองจึงทำให้ญี่ปุ่นต้องมีมาตราการการป้องกันภัยอย่างเข้มงวด
อย่างไรก็ตามหลักสำคัญในการเตรียมพร้อม ก็คล้ายกับการป้องกันเมื่อมีพายุไตฝุ่นเช่นเดียวกัน ก่อนอื่นครวจตรวจสอบสถานที่หลบภัยที่ใกล้ที่สุด ข้อมูลอื่นๆสามารถดูได้จากเคาน์เตอร์ต้อนรับที่โรงแรม สถานีตำรวจ โดยทั้งหมดได้ถูกระบุไว้ในแผนที่ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น หรือว่ากำหนดพำนักระยะนานควรเตรียมน้ำดื่ม อาหารไว้สำหรับ อย่างน้อย3วัน และเตรียมพร้อมอุปกรณืยังชีพและชุดปฐมพยาบาลไว้ด้วย

สิ่งที่ควรทำเมื่อมีแผ่นดินไหว

สิ่งที่ควรทำเมื่อมีแผ่นดินไหว

การคาดการณ์แผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าหากมีแนวโน้มว่าจะเกิดแผ่นดินไหว วิทยุและโทรทัศน์จะมีสัญญาณดังเตือนขึ้น เมื่อสัญญาณเตือนแล้ว พยายามอย่าวิ่ง ก่อนอื่นควรเพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ศรีษะให้หลบเข้าใต้โต๊ะ เมื่อหาสถานที่ปลอดภัยได้แล้ว ให้หลบอบู่จนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง อย่าอยู่ใกล้หน้าต่าง ตู้หนังสือหรือชั้นวางของโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ตึกอาคารญี่ปุ่นสมัยใหม่สามารถรองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้นแต่ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวการไม่วิ่งออกไปข้างนอกและหลบอยู่ใต้โต๊ะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

การรับมือกับสึนามิ

การรับมือกับสึนามิ

ในกรณีที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในทะเลลึก โอกาสที่จะเกิดคลื่นสึนามิจึงมีสูง เพื่อเป็นการป้องกัน ควรอยู่ห่างจากชายฝั่ง ฟังข่าวสารข้อมูลจากข่าวในทีวี โทรศัพท์มือถือ ก่อนอื่นให้อพยพไปยังที่สูง แต่ถ้าหากมีเวลาไม่มากควรอพยพไปยังดาดฟ้าตึกที่สูงที่สุดบริเวณนั้น
เมื่ออยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว ยังไม่ควรออกมาหลังจากสึนามิลูกแรกผ่านไป เพราะอาจจะมีสึนามิลูกที่2 3 ตามมาได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือการรับฟังข่าวสารจากวิทยุและสื่อต่างๆอย่างเฝ้าระวัง หลังจากนั้นจึงค่อยไปยังที่พักพิงตามที่กำหนดไว้

การเตรียมตัวป้องกันคือกุญแจสำคัญในการรับมือกับภัยพิบัติ

การเตรียมตัวป้องกันคือกุญแจสำคัญในการรับมือกับภัยพิบัติ

แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน "Safety tips”ซึ่งมีคำแนะนำในหลายภาษา เนื่องจากมีข้อมูลคำแนะนำที่ดี นักท่องเที่ยวที่เดินทางมีมาญี่ปุ่นควรโหลดไว้ใช้งาน
จากประวัติศาสตร์ที่ได้มีมาตราการป้องกันภัยพิบัติมา ญี่ปุ่นถือเป็นชาติที่มีมาตราการการป้องกันและแก้ไขที่ดีเยี่ยมแต่มาตราการฉุกเฉินที่เมีไว้ คุณสามารถดาวน์โหลดได้จากหน้าหลักของเวปไซด์ LIVE JAPAN

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

 
บทความใหม่
ค้นหา