HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว โตเกียว กินซะ ความงามของญี่ปุ่นผ่านวะงะชิ (ขนมหวานญี่ปุ่น)
HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว โตเกียว อิเกะบุกุโระ ความงามของญี่ปุ่นผ่านวะงะชิ (ขนมหวานญี่ปุ่น)
ความงามของญี่ปุ่นผ่านวะงะชิ (ขนมหวานญี่ปุ่น)

ความงามของญี่ปุ่นผ่านวะงะชิ (ขนมหวานญี่ปุ่น)

Last updated: 19 มิ.ย. 2563

ขนมแบบญี่ปุ่นแท้ ๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบกันมาแต่โบราณ วะงะชิมีเอกลักษณ์ที่หน้าตางดงามน่ามอง
ชวนให้สัมผัสถึงฤดูกาลและรสชาติหวานกลมกล่อม
ณ ที่นี้จึงขอนำเสนอความเป็นมาและประเภทของวะงะชิ รวมถึงร้านวะงะชิที่เปิดกิจการมา
เนิ่นนานให้เป็นที่รู้จักกัน

วะงะชิที่เติบโตด้วยอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ

วะงะชิที่เติบโตด้วยอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ

วะงะชิเริ่มต้นจากโมจิซึ่งว่ากันว่าเป็นอาหารแปรรูปที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น และต่อจากนั้น
ตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 630 เป็นต้นไป ขนมญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจาก "โทงะชิ(ขนมของราชวงศ์ถัง)"
ขนมซึ่งได้กลับมาจากการส่งทูตไปเยือนจีนทั้ง 19 ครั้ง รวมถึงนัมบังคะชิ(ขนมจากตะวันตก) ที่
เหล่ามิชชันนารีนำติดมา เช่น คาสเทลล่า(ขนมไข่หรือเค้กฟองน้ำของญี่ปุ่น) และคอมเปโต(ขนม
ก้อนน้ำตาลเล็ก ๆ ที่มีสีสันสดใส)
พัฒนาการของขนมญี่ปุ่นเริ่มมีขึ้นในสมัยเอโดะซึ่งหมดศึกสงคราม วะงะชิจำนวนมากที่
รับประทานกันอยู่ในปัจจุบันก็ถือกำเนิดในยุคดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากในยุคเอโดะมี
การรับวัฒนธรรมต่อมาจากตะวันตก จึงเริ่มมีเครื่องครัวอย่าง เช่น เตาอบเข้ามาให้ใช้งาน
นำมาซึ่งจุดกำเนิดของขนมอบแบบต่าง ๆ

ประเภทของวะงะชิที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน

ประเภทของวะงะชิที่มีอยู่อย่างนับไม่ถ้วน

วะงะชิที่เสิร์ฟในพิธีชงชาคือสิ่งที่ช่วยดึงรสชาติของชา ให้ความสำคัญกับรสหวานที่เรียบง่ายโดยไม่ใช้
น้ำมัน และหน้าตาที่สวยงามชวนให้รู้สึกถึงฤดูกาล
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ "นะมะงะชิ " "ฮังนะมะงะชิ" และ "ฮิงะชิ" แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดนัก
อย่างขนมที่ทำจากถั่วแดงทำให้แข็งเป็นรูปด้วยวุ้น ก็เรียกว่า "โยคัง" ของที่เนื้อแข็ง ๆ ก็ถือเป็น ฮังนะมะงะชิ
ส่วนที่เนื้อนิ่ม ๆ ก็เป็นนะมะงะชิ

วะงะชิที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคย

วะงะชิที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคย

วะงะชิที่ผูกพันกับญี่ปุ่นมานานที่สุดคงต้องเป็น "มันจู" ขนมที่เป็นแป้งสอดไส้ถั่วและผ่านการนึ่งหรือปิ้ง
แบบที่เก่าแก่จริง ๆ ก็คือแป้งที่ทำจากข้าวสาลี และไส้ที่เป็นถั่วอะซุกิบด แป้งยังมีที่เป็นแป้งข้าวเจ้า
แป้งโซะบะ แป้งโมจิ เป็นต้น ด้านไส้เองก็มีที่เป็นจากถั่วลันเตา เกาลัด และมิโสะ นอกจากนี้ก็ยังมี
โมจิแบบที่ยืดจนแป้งบางแล้วนำไปประกบไส้ถั่วไว้ตรงกลางเรียกว่า "โมะนะกะ" และแป้งโมจิ
ที่สอดไส้ถั่วเรียก "ไดฟุกุ" ทั้งหมดนี่ล้วนแล้วแต่เป็นวะงะชิที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคย

ร้านต้นกำเนิด "อันมิตสึ" ขนมประจำฤดูร้อน

ร้านต้นกำเนิด "อันมิตสึ" ขนมประจำฤดูร้อน

ภายในโตเกียวมีร้านขนมนับไม่ถ้วนคิดทำวะงะชิใหม่ ๆ ที่เป็นเสมือนตัวแทนของร้านเหล่านี้ก็คือ
"กินซ่าวะคะมัทสึ" ร้านที่เปิดเมื่อ ค.ศ. 1894 และให้กำเนิดอันมิตสึใน ค.ศ. 1930
อันมิตสึประกอบด้วยถั่วลันเตาแดงต้ม วุ้นที่หั่นเป็นลูกเต๋า แป้งกิวฮิ ผลไม้เชื่อมเช่นส้มหรือลูกท้อ และถั่วอะซุกิบด
รวมในภาชนะแล้วราดด้วยคุโระมิทสึ(น้ำเชื่อมน้ำตาลแดง)
แต่เดิมแล้วรับประทานกันเป็นขนมประจำฤดูร้อน ถั่วอะซุกิบดที่เปรียบเสมือนตัวเอกของอันมิตสึมีเอกลักษณ์
คือต้มสุกภายในระยะเวลาอันสั้น ลื่นคอรับประทานง่าย

  • Ginza Wakamatsu
    銀座若松
    • Address 5-8-20 Ginza, Chuo-ku, Tokyo 104-0061, Japan

ร้านเก่าแก่ที่มี โจนะมะงะชิ สวยงามหลากสีเรียงราย

ร้านเก่าแก่ที่มี โจนะมะงะชิ สวยงามหลากสีเรียงราย

"ฟุกุชิมะเกะ" ร้านวะงะชิที่ดำเนินกิจการมาตั้งแต่สมัยเอโดะ สินค้ามีชื่อของร้านคือ "โจนะมะงะชิ" ที่มีสีสัน
อีกทั้งยังทำขึ้นมาอย่างพิถีพิถันชัดเจนในสัมผัสของฤดูกาล
ยกตัวอย่างเช่นการทำเฉดสีภายในขนมชิ้นหนึ่ง แสดงถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงจนถึงปลายฤดูใบไม้ร่วง
สำหรับฤดูใบไม้ผลิก็ใช้สีชมพูแบบดอกซากุระไล่อ่อนไปเข้ม ถ่ายทอดกระแสของฤดูกาลออกมาให้สนุกสนานเป็นอาหารตา
ยังว่ากันอีกว่าโจนะมะงะชิส่วนหนึ่งทำตาม "ตำราแม่แบบวะงะชิ" หนังสือสูตรวะงะชิที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาตั้งแต่
สมัยเอโดะด้วย
นอกจากนี้ก็ต้องขอแนะนำให้ลิ้มลองขนมเกาลัด ซึ่งทำจากเกาลัดญี่ปุ่นแท้ ๆ ที่ใช้เวลาเคี่ยวอย่างช้า ๆ จนได้ที่

  • Fukushimaya
    福島家
    • Address 2-1-1 Sugamo, Toshima-ku, Tokyo 170-0002, Japan
*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา