HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว โตเกียว สถานีโตเกียว [การแข่งขันระดับโลกใกล้เข้ามาแล้ว] “กฎและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่น” ที่เข้าใจง่ายสำหรับมือใหม่!
[การแข่งขันระดับโลกใกล้เข้ามาแล้ว] “กฎและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่น” ที่เข้าใจง่ายสำหรับมือใหม่!

[การแข่งขันระดับโลกใกล้เข้ามาแล้ว] “กฎและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่น” ที่เข้าใจง่ายสำหรับมือใหม่!

Last updated: 6 เม.ย. 2563

ตั้งแต่ทีมตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นสามารถเอาชนะทีมตัวเต็งจากประเทศแอฟริกาใต้ในการแข่งรอบคัดเลือกตัวแทนไปแข่งระดับโลกได้ในปี 2015 กีฬารักบี้ก็ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างก้าวกระโดด และผู้เขียนเองก็ติดใจกีฬาชนิดนี้เข้าอย่างจังเช่นกัน โดยจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันลีกในประเทศ ซีซั่น 2015-2016 เพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนั้นก็ยังคงความนิยมต่อเนื่องมาอย่างเหนียวแน่น และในปีนี้ ญี่ปุ่นยังได้เป็นตัวแทนในการจัดการแข่งขันระดับโลกที่ 4 ปีมีเพียงครั้งเดียวอีกด้วย

โดยกีฬารักบี้นั้นเป็นการแข่งขันกีฬาประเภทที่ใช้ลูกบอลที่มีประวัติยาวนานและได้รับความนิยมมากพอๆ กับเบสบอลและฟุตบอล มีแฟนๆ เหนียวแน่นมากมาย โดยการแข่งขันโปรลีกและการแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัย

บทความนี้ จะกล่าวถึงคนที่รักการดูรักบี้ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับรักบี้, ประวัติการแข่งรักบี้, สนามกีฬารักบี้, ตัวแทนกีฬารักบี้จากประเทศญี่ปุ่น, นักกีฬารักบี้ที่ถูกจับตามอง, กฎกติกา, ตำแหน่งการเล่น, โกลด์ และอื่นๆ รวมไปถึงจะอธิบายเกี่ยวกับกฎกติกา และมารยาทในกีฬารักบี้ คร่าวๆ สำหรับมือใหม่อีกด้วย

กีฬารักบี้ที่ประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมายาวนานกว่าร้อยปี

กีฬารักบี้ที่ประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางมายาวนานกว่าร้อยปี

ในสมัยที่ยังไม่มีผู้เล่นมืออาชีพหรือธุรกิจกีฬาในประเทศญี่ปุ่น การแข่งขันกีฬาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือกีฬามหาวิทยาลัย ในยุคเมจิที่มีอาจารย์และนักวิชาการชาวยุโรปและอเมริกาได้รับเชิญมาสอนในมหาวิทยาลัย กีฬาตะวันตกที่พวกเขาและบรรดาลูกชายเล่นกันนั้นได้รับความนิยมในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก และกีฬารักบี้ที่เริ่มขึ้นโดย คลาร์ก อาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเคโอก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาได้สอนรักบี้ให้กับบรรดาลูกศิษย์ ตั้งแต่เมื่อ 27 ปีก่อนที่จะมีการก่อตั้งสมาคมรักบี้ขึ้นที่ญี่ปุ่นเสียอีก

ในช่วงที่ฟื้นฟูจากสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การพัฒนากีฬาได้ให้ความช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ในกีฬารักบี้ ซึ่งเป็นกีฬาชนิดแรกที่ถูกกล่าวถึงซ้ำ และที่สำคัญเกมแรกได้เปิดฉากขึ้นทันทีหลังจากสิ้นสุดสงครามไปเพียงหนึ่งเดือน

มหาวิทยาลัยเคโอ, มหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัยเมจิของโตเกียว และมหาวิทยาลัยโดชิฉะของเกียวโต เป็นที่รู้จักดีว่ามีทีมรักบี้ที่แข็งแกร่งมาตั้งแต่สมัยก่อน นักกีฬาทีมชาติหลายท่านก็จบมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ การแข่งขันรักบี้ประเพณีที่มี 4 มหาวิทยาลัยนี้มาแข่งกันนั้นก็เป็นที่จับตามองของแฟนรักบี้ชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีเจแปนรักบี้ท็อปลีกซึ่งอยู่จุดสูงสุดของกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ที่เกิดจากการรวมตัวกันของลีกบุคคลทั่วไปและลีกท้องถิ่น ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 ปัจจุบันมีสมาชิกของลีกอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศมากถึง 16 ทีม

ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่น ชิชิบุโนะมิยะ ฮานะโซโนะ และ....

ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุ่น ชิชิบุโนะมิยะ ฮานะโซโนะ และ....

ที่ญี่ปุ่นมีสนามกีฬา 2 แห่งซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็น “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของกีฬารักบี้ในประเทศญี่ปุน” แห่งแรกคือ Chichibunomiya Rugby Stadium ของโตเกียว สร้างขึ้นในปี 1947 อีกแห่งนึงคือ Hanazono Rugby Stadium ของโอซาก้า ที่สร้างขึ้นในปี 1929 โดยทั้ง 2 แห่งเป็นสนามสำหรับแข่งรักบี้โดยเฉพาะที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศญี่ปุ่น และที่ผ่านมาก็ได้ใช้เป็นที่จัดการแข่งขันนัดสำคัญมามากมาย

นอกจากนี้ ยังมีสนามแข่งที่น่าจะได้เป็น “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์” แห่งใหม่ นั่นก็คือ Kamaishi Recovery Memorial Stadium ที่เริ่มเปิดใช้ในปี 2018 โดยเมืองคามะอิชิจังหวัดอิวาเทะแห่งนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะฐานหลักของทีมดัง และในฐานะ “เมืองรักบี้” และเป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฝั่งญี่ปุ่นตะวันออกอีกด้วย โดยสนามกีฬาแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นบริเวณโรงเรียนประถมและมัธยมต้นที่เสียหายไปจากเหตุแผ่นดินไหว เรียกได้ว่าเป็นสนามกีฬาที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ได้อีกด้วย

“ทีมตัวแทนญี่ปุ่น” ต่อสู้ในระดับโลก

(c)Mitch Gunn / Shutterstock.com
(c)Mitch Gunn / Shutterstock.com

ผู้ที่จะได้ต่อสู้กับตัวแทนทีมจากต่างชาติโดยมีศักดิ์ศรีของประเทศเป็นเดิมพันคือตัวแทนทีมชาติชายของญี่ปุ่น โดยทุกครั้งจะรวบรวมสมาชิก (สคว็อด) กว่า 30 คนมาจากสมาชิกที่เล่นในท็อปลีกต่างๆ แล้วเลือกผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 23 คน เพื่อลงแข่งขัน

ทีมของญี่ปุ่นนั้นอยู่ในอันดับที่ 11 ของโลก และสูงสุดในเอเชีย (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2019) ชื่อของทีมคือ BRAVE BROSSOMS ยูนิฟอร์มเป็นลายทางสีขาวแดงและมีสัญลักษณ์รูปซากุระติดอยู่ ปัจจุบันมีชาวนิวซีแลนด์ที่เคยมีประสบการณ์สร้างชื่อให้กับทีมญี่ปุ่นอย่าง เจมี่ โจเซฟ เป็นหัวหน้าโค้ชนำทีม

การแข่งขันคัดทีมไปแข่งระดับโลกซึ่ง 4 ปีจะมีเพียงครั้งเดียวนั้น ทีมญี่ปุ่นก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันมาตั้งแต่ครั้งแรก ในปี 1987 ไปจนถึงการแข่งขันครั้งที่ 8 ติดต่อกัน โดยรวมแล้วชนะทั้งหมด 4 ครั้ง แพ้ 22 ครั้ง เสมอ 2 ครั้ง โดย 3 ครั้งจาก 4 ครั้งที่ชนะนั้น ญี่ปุ่นก็ได้เกิดกระแส “โกโร่มารูบูม” ขึ้นในปี 2015 โดยเฉพาะ “การแข่งขันที่พลิกล็อคครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์” ที่สามารถเอาชนะทีมจากแอฟริกาใต้ได้นั้นก็ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของผู้คนจำนวนมาก

สไตล์การเล่นของทีมตัวแทนประเทศญี่ปุ่น

ประเทศที่มีทีมรักบี้ที่แข็งแกร่งอย่างประเทศนิวซีแลนด์, ประเทศเวลส์, ประเทศอังกฤษ และแอฟริกาใต้ ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีข้อได้เปรียบทางด้านร่างกายทั้งสิ้น ว่ากันว่าสามารถจะทะลุกำแพงขึ้นมา อยู่ลำดับที่สูงกว่าอันดับ 10 ในระดับโลกได้ ล้วนเป็นการท้าทายที่ยากยิ่งสำหรับกีฬาทุกๆ ประเภท นอกจากนี้ โจทย์ที่ว่า “จะเอาชนะคู่แข่งที่ได้เปรียบทั้งด้านส่วนสูงและน้ำหนักได้อย่างไร” ก็เป็นโจทย์ตลอดกาลที่ทีมตัวแทนญี่ปุ่นจะต้องคิดแก้ปัญหาอยู่เสมอ

เทคนิคและกลยุทธการแข่งขันบางครั้งก็จะเปลี่ยนไปอย่างมาก ตามแต่วิธีการคิดของหัวหน้าโค้ช อย่างเช่นจนถึงปี 2015 ทีมตัวแทนญี่ปุ่นภายใต้การนำของเอ็ดดี้ โจนส์ หัวหน้าโค้ชคนก่อนนั้นจะใช้สไตล์การเล่นที่เน้นพลังกายเป็นหลัก โดยจะใช้การผ่านลูกให้มากที่สุด แล้วค่อยๆ รุกไปข้างหน้า ส่วนโจเซฟ โค้ชคนปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้สไตล์การเล่นที่เน้นใช้วิธีเตะยาว ต้อนคู่แข่งจากด้านหลัง และพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะร่างกายให้ได้มากที่สุด

“ผู้กล้าตาสีฟ้า” ผู้แบกรับจิตวิญญาณของตัวแทนชาวญี่ปุ่น

(c)Mitch Gunn / Shutterstock.com
(c)Mitch Gunn / Shutterstock.com

ทีมรักบี้ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาตินั้น ยอมให้มีนักกีฬาทีมตัวแทนที่เป็นชาวต่างชาติด้วย สำหรับผู้ที่ไม่เคยชมกีฬารักบี้รักบี้มาก่อนอาจจะรู้สึกไม่เคยชินเท่าไรนัก แต่ทีมที่แข็งแกร่งอย่างอังกฤษและออสเตรเลียเองก็ยังมีนักกีฬาที่เป็นชาวต่างชาติอยู่ไม่น้อยเลย

การจะเป็นนักกีฬารักบี้ได้ หากผ่านเงื่อนไขที่ว่า ต้องไม่เคยมีประสบการณ์การอาศัยอยู่ในประเทศนั้นๆ หรือไม่เคยเป็นตัวแทนนักกีฬาในประเทศอื่นๆ มาก่อน ก็จะสามารถเข้าอยู่ในทีมตัวแทนในฐานะนักกีฬาโค้วต้าต่างชาติได้ มีนักกีฬาจากนิวซีแลนด์ที่มาอยู่ญี่ปุ่นตั้งแต่อายุ 23 ปี และเข้าร่วมการแข่งขันตัวแทนมากถึง 64 ครั้ง จนกลายเป็นตำนานของทีมชาติญี่ปุ่นอีกด้วย พูดได้เลยว่าทีมชาติญี่ปุ่นในปัจจุบันจะขาดความแข็งแกร่งและประสบการณ์ของเขาไปไม่ได้เลย

สิ่งที่นักกีฬาทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติต้องแบกรับไว้นั้นมีเหมือนกัน คือการเผชิญหน้าชิงลูกบอลกับคู่แข่ง ซึ่งอยู่ในแถวหน้าของการแข่งขันกีฬารักบี้อันดุเดือดรุนแรง ภาพของพวกเขาที่ป้องกันได้แข็งแกร่งดั่งกำแพงเหล็ก จนป้องกันการบุกเข้าใส่ของชายร่างใหญ่ทั้งหลายได้นั้นสร้างความประทับใจให้กับเหล่าคนดูได้เป็นอย่างยิ่ง

นักกีฬารูปหล่อที่น่าจับตามองของทีมญี่ปุ่น

นักกีฬารูปหล่อที่น่าจับตามองของทีมญี่ปุ่น

นักกีฬารูปหล่อของวงการรักบี้ หากเป็นเมื่อสมัยก่อนต้องยกให้เซจิ ฮิราโอะ ส่วนในสมัยนี้ก็ต้องเป็นโกโร่มารู อายูมุ นอกจากนี้ ทีมตัวแทนของญี่ปุ่นในปัจจุบันก็ยังได้ชื่อว่าสามารถรวบรวมสมาชิกที่หล่อเหลาเอาไว้ได้ “มากสุดในประวัติศาสตร์” อีกด้วย

โดยคนที่ได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษก็คือฟุกุโอะกะเคนกิ, ทามุระ ยู, นากามุระ เรียวโตะ, ฮิเมโนะ คาซุกิ และมัตสึดะ ริคิยะ ทั้ง 5 คนนี้ และ ทิโมธี ลาฟาเอล ชาวซามัว หนุ่มรูปหล่อที่ทุกคนต่างก็บอกว่าหน้าตาละม้ายคีอานู รีฟส์

กฎขั้นพื้นฐาน 12 ข้อที่ควรทราบก่อนชมการแข่งขัน

กฎขั้นพื้นฐาน 12 ข้อที่ควรทราบก่อนชมการแข่งขัน

สุดท้ายนี้จะขอแนะนำกฎพื้นฐานทั้ง 12 ข้อ ที่ผู้ชมรักบี้มือใหม่ควรทราบ เพื่อจะได้สนุกกับการชมการแข่งขันได้อย่างเต็มที่

《พื้นฐาน》
1.รักบี้เป็นกีฬาที่เล่นกัน 15 คนใน 1 ทีม โดยตำแหน่งของทั้ง 15 คนนั้นแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นกองหน้า (Forward) 7 คน และกองหลัง (Backs) 8 คน

2.เกมจะเริ่มขึ้นโดยให้ผู้เล่นทั้งสองทีมประจันหน้ากัน แต่ละทีมจะต้องนำลูกบอลบุกเข้าไปยังฐานที่มั่นของศัตรู

3.สามารถวิ่งไปโดยถือบอลไปด้วยได้

4.การแข่งขันจะแบ่งเป็นครึ่งแรก 40 นาที และครึ่งหลังอีก 40 นาที รวมเวลาการแข่งขันทั้งหมด 80 นาที

《การนับคะแนน》
5.การนับคะแนนนั้นจะมีขึ้นต่อเมื่อมีการ Try, ผ่านประตู, ลูกโทษ และ ลูกพร้อม ทั้งหมด 4 วิธี ดังที่จะอธิบายต่อไปด้านล่าง

6.หากนำบอลเข้าไปยังเส้นในสุดของฐานที่มั่นของอีกฝ่ายได้จะได้ 5 คะแนน (Try)

7.และหลังจากทำ Try ได้แล้ว หากสามารถเตะลูกผ่านประตูได้จะได้เพิ่มอีก 2 คะแนน (ผ่านประตู)

8.และหากมีการทำผิดกฎ เช่นมีการเข้าแย่งลูกที่อันตราย อีกฝ่ายจะได้สิทธิ์ในการเตะลูก และหากทำสำเร็จจะได้ 3 คะแนน (ลูกโทษ)

9.นอกจากนี้ ระหว่างการเลี้ยงลูก หากปล่อยให้ลูกบอลเด้งพื้น 1 ครั้งแล้วเตะ แล้วลูกเตะนั้นผ่านเข้าประตูได้ จะได้ 3 คะแนน (ลูกพร้อม)

《การทำผิดกฏิกา》
10.หากทำบอลที่ถืออยู่ร่วงไปข้างหน้าถือว่าผิดกฎ (Knock On)

11.การโยนลูกส่งไปให้เพื่อนที่อยู่ข้างหน้าถือว่าผิดกฎ (Throw Forward)

12.หากมีการทำผิดกฎสถานเบาอย่าง Throw Forward หรือ Knock On จะได้รับโอกาสให้ Scrum โดยจะ เริ่มเกมใหม่อีกครั้ง ตั้งแต่ให้ตำแหน่ง Forward ของทั้งสองทีมแย่งบอลกันจากด้านหน้า

หากทราบกฎเบื้องต้นเพียงเท่านี้แล้ว แม้จะเป็นการชมครั้งแรกก็สามารถชมได้อย่างสนุกอย่างแน่นอน ขอเชิญทุกท่านมาชมกีฬารักบี้ของญี่ปุ่นกันได้
main image(c)Mitch Gunn / Shutterstock.com

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

 
บทความใหม่
ค้นหา