เมื่อพูดถึงบ้านของคนญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม หลายคนคงจะนึกถึงเสื่อทาทามิกัน เสื่อทาทามินั้นถูกนำมาใช้ในบ้านญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ทาทามิที่ทำจากหญ้ากกจะนำมาใช้ปูเป็นพื้นห้อง และขนาดของทาทามินั้นถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เพราะฉะนั้นการวัดขนาดห้องของญี่ปุ่นจึงนิยมนับตามเสื่อว่ามีกี่แผ่น
วัตถุดิบในการทำเสื่อทาทามิ
สมัยก่อนจะทำเสื่อทาทามิจากฟาง ใช้อัดหญ้าฟางลงไปจนถึงยอด แต่ว่าปัจจุบันนั้นนิยมนำวู๊ดชิพหรือแผ่นโฟมมาทำเป็นฐานของเสื่อแทน
ด้านบนนั้นทำจากหญ้ากก ซึ่งจะทำให้ได้พื้นสัมผัสที่นุ่มสบาย ไม่ว่าจะเดิน จะนอน หรือจะนั่งบนเสื่อก็ดีไปเสียหมด ทั้งนี้สมัยก่อนทุกขั้นตอนการผลิตจะทำด้วยฝีมือของช่าง โดยถักทอเสื่อจากหญ้ากก แต่ปัจจุบันมีเครื่องจักรในการผลิตแทนเสียส่วนใหญ่
ประวัติของเสื่อทาทามิ
เสื่อทาทามิช่วงแรกๆ จะแตกต่างจากเสื่อทาทามิในปัจจุบัน สมัยก่อนเป็นเหมือนแผ่นปูวางซ้อนกันบางๆ คำว่า “ทาทามุ (วางซ้อนเรียงกัน)” เป็นที่มาของเสื่อทาทามิยังไงล่ะ และจะใช้ในบ้านคนรวยกับบ้านขุนนางเท่านั้น แต่ถึงจะเป็นบ้านคนรวยก็ยังไม่สามารถปูทาทามิอย่างเต็มที่ได้ จนกระทั่งสมัยศตวรรษที่ 15 ห้องแบบ “สะชิคิ” ที่ปูเสื่อทาทามิแบบเต็มห้องได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจึงเกิดเป็นธรรมเนียมมารยาทของห้องแบบ “สะชิคิ” แต่กว่าทาทามิจะแพร่หลายทั่วไปก็เข้าสู่ศตวรรษที่ 17 แล้ว ปัจจุบันบ้านของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะจัดให้มีห้องญี่ปุ่น “วะชิสึ” ไว้เพียงหนึ่งห้อง
การปูและขนาดของเสื่อ
ขนาดของเสื่อทาทามินั้นจะแตกต่างตามแต่ละภูมิภาค เช่น ทาทามิของโตเกียวจะมีขนาดเล็กกว่าเกียวโตเล็กน้อย ความกว้างของห้องชงชาโดยปกติจะมีขนาดอยู่ที่ 4 เสื่อครึ่ง เพราะห้องชงชาของเมืองหลวงเก่าอย่างเกียวโตจะกว้างกว่าของเมืองหลวงใหญ่อย่างโตเกียวนั่นเอง
นอกจากนี้วิธีการปูเสื่อทาทามิก็จะสามารถเปลี่ยนขนาดห้องได้อีกด้วย เช่น กรณีห้องชงชานั้น ในหน้าหนาว จะตั้งเตาถ่านไว้กลางห้องเพื่อใช้เป็นเครื่องทำความร้อน เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนการวางทาทามิ แต่วิธีการวางเสื่อนั้นจะมีผลต่อโชคลาภ บางวิธีอาจจะนำพาความโชคร้ายมาให้ จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ
มารยาทในเสื่อทาทามิ
คงจะทราบเป็นอย่างดีว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เวลาขึ้นบ้านจะถอดรองเท้าและเปลี่ยนมาสวมสลิปเปอร์ แต่ถ้าเป็นห้องที่ปูด้วยเสื่อทาทามิ จะไม่ใส่สลิปเปอร์เดินเข้าไป เพราะทาทามินั้นใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือไม้กวาดทำความสะอาดลำบาก ดังนั้นเพื่อรักษาความสะอาดของเสื่อแล้วการเดินด้วยเท้าเปล่าหรือสวมถุงเท้าถือว่าเป็นมารยาทที่ถูกต้อง ทั้งนี้มารยาทนี้ยังเหมือนกันกับร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมด้วย เพราะฉะนั้นควรจะระวังให้ดี ก่อนขึ้นห้องที่ปูด้วยเสื่อทาทามิต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.
Recommended places for you
-
Goods
Yoshida Gennojo-Roho Kyoto Buddhist Altars
Gift Shops
Nijo Castle, Kyoto Imperial Palace
-
Menu
ISHIDAYA Hanare
Yakiniku
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
Appealing
Rukku and Uohei
Izakaya
Sapporo / Chitose
-
Jukuseiniku-to Namamottsuarera Nikubaru Italian Nikutaria Sannomiya
Izakaya
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
Appealing
Asahiyama Zoo
Zoos, Aquariums & Botanical Gardens
Asahikawa
-
Kamesushi Sohonten
Sushi
Umeda, Osaka Station, Kitashinchi
-
เส้นทางยอดนิยมสำหรับท่องเที่ยวอะตะมิ
-
หากต้องการใช้ชีวิตยามราตรีในโตเกียวล่ะก็ มีบาร์ที่อยากกให้ลองไปกัน
-
กูรูด้านอาหารต้องรู้! รวมคำศัพท์ “เฉพาะเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น” ที่สามารถใช้ได้ในร้านอาหาร
-
เสน่ห์ของการชมดอกไม้ที่อุเอโนะ โตเกียว ทั้ง 4 ฤดูกาล (ผลิ ร้อน ร่วง หนาว) และข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ
-
ไม่ต้องไปไกลถึงฟุคุโอกะ ก็ทานราเม็งซุปกระดูกหมูสูตรเด็ดในโตเกียวได้!
-
[MOVIE] ไปดูโชว์แล่ปลามากุโร่และลิ้มรสปลาสดๆแล่ใหม่ๆกันเถอะ!