HOME มนุษย์ญี่ปุ่นก็เป็นอย่างนี้แหละ! มาเรียนรู้สิ่งที่คนญี่ปุ่นชอบทำกัน
มนุษย์ญี่ปุ่นก็เป็นอย่างนี้แหละ! มาเรียนรู้สิ่งที่คนญี่ปุ่นชอบทำกัน

มนุษย์ญี่ปุ่นก็เป็นอย่างนี้แหละ! มาเรียนรู้สิ่งที่คนญี่ปุ่นชอบทำกัน

Last updated: 9 ต.ค. 2563

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและมารยาท การใช้ชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นนั้น ได้มีการหลอมรวมเอาวัฒนธรรมตะวันตกที่นำเข้ามาพร้อมกับประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่นจากอดีตเข้าไว้ด้วยกัน หากลองใช้ชีวิตท่ามกลางคนญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ เพียงไม่กี่วันเท่านั้น คุณก็คงจะเข้าใจถึงวัฒนธรรม ประเพณีที่อยู่ร่วมกันได้แล้วล่ะ

การใช้เวลาในร้านสะดวกซื้อ

การใช้เวลาในร้านสะดวกซื้อ

คนยืนอ่านนิตยาสาร หรือการ์ตูนที่ร้านสะดวกซื้อหรือร้านหนังสือเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยๆ ในญี่ปุ่น

บางครั้งผู้จัดการร้านคงภาวนาให้คนเหล่านี้กลับบ้านได้แล้ว แต่ว่าคนทั่วไปกลับไม่สนใจอะไรกับการกระทำเช่นนั้นเท่าไหร่ กลับกันกลับยินดีด้วยซ้ำ เพราะว่าส่วนหนึ่งมันก็เหมือนเป็นการทำให้ร้านดูคึกคัก การยืนอ่านหนังสือตามร้านแบบนี้เรียกว่า “ทาจิโยมิ”

การซื้อของฝากเวลาไปเที่ยวคือหน้าที่!?

การซื้อของฝากเวลาไปเที่ยวคือหน้าที่!?

คนญี่ปุ่นนิยมซื้อของฝากไปฝากเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หรือเพื่อนฝูงเวลาไปเที่ยว แถมคนส่วนใหญ่ยังคิดว่าเป็นหน้าที่อีกด้วย เรียกได้ว่า ไปเที่ยว = ของฝาก เลยทีเดียว และร้านของฝากก็มีของฝากมากมายหลายประเภทให้เลือกไม่ว่าจะเป็นขนม เครื่องเขียน ของกระจุกกระจิก เป็นต้น

ออกกำลังกายตามเสียงวิทยุตอนเช้าตรู่

ออกกำลังกายตามเสียงวิทยุตอนเช้าตรู่

ทุกเช้า “Radio Exercise ” ช่องของ NHK ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกิจวัตรของญี่ปุ่น “Radio Exercise” นั้นประกอบไปด้วยท่าบริหารร่างกายโดยท่าง่ายๆ เพื่อยืดกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เป็นการวอร์มอัพ

“Radio Excercise” นี้เริ่มแรกนั้นเป็นของอเมริกาและถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นเมื่อปี 1928 เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงาน และความสัมพันธ์ในกลุ่ม ปัจจุบันนี้ยังคงมีคนญี่ปุ่นที่ออกกำลังบริหารตาม Radio Exercise ทุกเช้าเป็นกิจวัตร ถึง 20%

ความหมายของ X และ O

ความหมายของ X และ O

ญี่ปุ่นก็มีภาษามือที่เป็นเอกลักษณ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น เป็นท่าที่เห็นครั้งแรกอาจจะไม่เข้าใจ ครั้งนี้เราจึงหยิบยกมาให้ทุกคนได้รู้จัก

การนำแขนไขว้กันเป็นตัว X นั้นหมายถึง “NO” แสดงถึงการปฏิเสธ ส่วน “YES” นั้นจะใช้มือทำเป็นรูปตัว O บนศีรษะ

คำอุทานที่ใช้ในแต่ละวัน

คำอุทานที่ใช้ในแต่ละวัน

คนญี่ปุ่นนั้นนิยมใช้คำอุทานที่เรียกว่า “ไอสึจิ” เวลาสนทนา ซึ่งการใช้ไอสึจิดังกล่าวนี้เป็นการแสดงให้คู่สนทนาเห็นว่าตัวเองนั้นตั้งใจฟังอยู่ และสนใจในสิ่งที่คู่สนทนาพูดอยู่นะ ซึ่งถือเป็นมารยาทอย่างหนึ่ง

ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นระยะเวลานาน มักจะใช้ไอสึจินี้บ่อย เหมือนกับคนญี่ปุ่นอย่างไม่รู้ตัว
ด้านล่างคือตัวอย่างของคำอุทานไอสึจิที่นิยมใช้บ่อยๆ
“Hai” (はい) ครับ/ค่ะ , “ee” (ええ) ใช่ , or “un” (うん): Yes/O.K. ใช่ โอเค
“Sou desu ne” (そうですね) นั่นสินะ , “Sou desu ka” (そうですか): I see / Is that so? งั้นเหรอ
“Hontou” (本当) จริง , “Hontou ni” (本当に) จริงๆ , “Maji” (マジ): Really!? จริงป้ะ?!
“Naruhodo” (なるほど): I see. อ๋อ/อย่างนี้นี่เอง

ตำแหน่งที่นั่งในงานเลี้ยงสังสรรค์ของธุรกิจ

ตำแหน่งที่นั่งในงานเลี้ยงสังสรรค์ของธุรกิจ

งานเลี้ยงสังสรรค์ในวงธุรกิจนั้น มีการกำหนดที่นั่งไว้อย่างชัดเจนตามธรรมเนียมที่มีมาทั้งแต่อดีตหลายร้อยปี แต่สังคมในปัจจุบันนั้น ไม่ได้เข้มงวดเท่าสมัยก่อน แต่ว่าก็ยังมีการกำหนดที่นั่งของเจ้านาย หรือบุคคลที่มีตำแหน่งสูงกว่าตนเพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพ จึงภาพการเลือกที่นั่งให้เห็นอยู่บ่อยๆ

กฎการกำหนดที่นั่งโดยปกติเป็นไปตามด้านล่าง
・ผู้ที่ตำแหน่งสูงที่สุดจะอยู่ไกลสุดจากประตู หรือที่นั่งที่อยู่ลึกสุด
・ผู้ที่ตำแหน่งรองลงมาให้นั่งใกล้ผู้ที่ตำแหน่งสูงที่สุด ตามลำดับ
・นอกจากนั้น พนักงานใหม่หรือพนักงานทั่วไปให้นั่งใกล้ประตู

ในงานเลี้ยงของวงธุรกิจ ถึงจะบอกว่าธุรกิจแต่ก็ไม่จำเป็นต้องนั่งเกร็ง เคร่งเครียด เพราะว่างานเลี้ยงสังสรรค์แบบนี้เป็นงานทีทุกคนจะได้ส่งเสียงเฮฮาบอกลาความเหนื่อยล้าในหนึ่งวัน จึงไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายลูกน้อง หรืออายุ ถือเป็นวัฒนธรรมการทำงานอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้เรียกว่า “มุเรโค” มีความหมายว่า ไม่จำเป็นต้องเกรงใจ

เทคนิคการขอโทษ

เทคนิคการขอโทษ

เวลานาฬิกาไม่ปลุก รถไฟสายทำให้เข้างานช้าไป 1 ชั่วโมง ในช่วงเวลาเหล่านั้นจะต้องรับมือกับมันอย่างไรถึงจะดีกันนะ

แม้ว่าจะเป็นการมาสายจากสถานการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ หรือไม่ได้ตั้งใจจะมาสายจริงๆ คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามอธิบายเหตุผลเหล่านั้นให้เพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายฟัง แต่ว่ายิ่งสาย การพูดอธิบายเหตุผล มันก็จะยิ่งทำให้ดูแย่มากเท่านั้น

ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจมาสาย การกล่าวขอโทษถือเป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด

การแลกนามบัตร

การแลกนามบัตร

การแลกนามบัตรเป็นสิ่งที่สำคัญมากในวงการธุรกิจญี่ปุ่น และการแลกนามบัตรนี้ก็มีกฎเกณฑ์ต่างๆ อีกด้วย เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเรามาจำกฎเกณฑ์ที่ว่านี้กันเถอะ

・จะต้องยื่นนามบัตรให้สองมือและโค้งไปด้วย

・การเขียนอะไรลงไปในนามบัตรถือว่าเป็นการกระทำที่เสียมารยาทอย่างมาก

・หากเป็นทางการ ต้องวางนามบัตรไว้บนโต๊ะ

・ไม่ควรเก็บนามบัตรเลย ควรจะมองสิ่งที่เขียนอยู่ในนามบัตรให้ดี กรณีที่ต้องการเก็บจะต้องเก็บในสมุดเก็บนามบัตร

เมื่อได้รับนามบัตรมาแล้ว แม้แต่คนติดตามของคนที่เราได้รับนามบัตรมา เราก็จะต้องปฏิบัติด้วยท่าทีที่เป็นมิตรด้วย
หากจำมารยาทที่กล่าวมาทั้งหมดได้ การติดต่อธุรกิจกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นคงจะไหลลื่นเป็นไปอย่างเรียบร้อยแน่นอน

※ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสำหรับลงในบทความเท่านั้น

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

 
ค้นหา