HOME การแสดงหุ่นละครเชิด ประเพณีการเชิดหุ่น
การแสดงหุ่นละครเชิด ประเพณีการเชิดหุ่น

การแสดงหุ่นละครเชิด ประเพณีการเชิดหุ่น

Last updated: 6 มี.ค. 2560

การแสดงละครหุ่นเชิดญี่ปุ่น เป็นละครที่ใช้คนเชิด 3 คนต่อหุ่นหนึ่งตัว โดยการนำเนื้อเรื่องต่างๆมาแสดงเป็นการแสดงพื้นบ้านของญี่ปุ่โดยเรียกกันว่า "Bungaku" และถูกบันทึกให้เป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี ค.ศ. 2003

ประวัติความเป็นมาของละครหุ่นเชิดญี่ปุ่น

ประวัติความเป็นมาของละครหุ่นเชิดญี่ปุ่น

ต้นกำเนิดของละครหุ่นเริ่มจากปี ค.ศ.1684 ได้สร้างโรงละครหุ่น Bunraku ที่แรกในโอซาก้า โดย Takemoto Gidayuซึ่งเป็นนักกวี("Joururi”)ในสมัยนั้น แต่ว่าละครหุ่นเชิดและบทกวีนั้นเป็นศิลปะการแสดงมาก่อน เริ่มจากการต้นกำเนิดเรื่องราวของหญิงสาวที่เรียกว่า” Joruri gozen” ในเวลานั้นจะเรียกว่า"Joururi”ซึ่งเป็นเพลงที่เล่าเรื่องร้องพร้อมกับเพลงเรียบง่าย โดยเพิ่มการแสดงหุ่นเชิดเข้าไป แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เรียกว่าละครหุ่นเชิด ซึ่งการแสดงละครหุ่นเชิดขยายความื่นชอบจอากโอซาก้าไปยังเอโดะ นอกจากนั้นความหลากหลายของวิธีการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และความหลากหลายของเนื้อเรื่องที่นำมาแสดง

บทบาทการแสดงบนเวที

บทบาทการแสดงบนเวที

ขอแนะนำบทบาทการแสดงละครหุ่นดังนี้
หุ่นเชิดจะบังคับด้วยคน 3 คน ส่วนมากผู้เชิดจะใส่ชุดสีดำ แต่ก็มีบางครั้งที่เปิดเผยตัวผู้เชิดออกมาในบทสำคัญ ๆ เช่นเดียวกัน เช่นตำแหน่ง "Tayuu" ที่เป็นผู้บรรยายเรื่องราวในละครหุ่นเชิด ก็มีหน้าที่จะพากย์ตัวละครที่ปรากฎในเรื่องต่าง ๆ และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นออกมาอย่างแยบยล เป็นต้น บทเพลงก็มีส่วนสำคัญในละครหุ่นเชิดเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วมักจะใช้เครื่องสาย "Futosao" ที่เสียงก้องกังวานกว่า Shamisen (ซอสามสายของญี่ปุ่น) มาใช้ในละครหุ่นเชิด

วิธีเพลิดเพลินไปกับละครหุ่นเชิด

วิธีเพลิดเพลินไปกับละครหุ่นเชิด

Bunrakuคือการสืบทอดเทคนิคศิลปะโดยการนำเรื่องราวหรือตำนานที่เล่าสืบๆกันมาตั้งแต่สมัยเอโดะมาแสดง โดยจะใช้ภาษาโบราณซึ่งอาจจะเข้าใจยาก โดยในโรงละครจะมีโบชัวร์ที่บรรยายเนื้อหาเรื่องราว และคำศัพท์อธิบายไว้มีบทบรรยายบนหน้าจอ และหูฟังไกด์ที่สามารถใช้ฟังคำอธิบายที่ชัดเจนได้เตรียมเอาไว้ให้ด้วย

บทบาทการแสดงในละครหุ่นเชิดญี่ปุ่น

บทบาทการแสดงในละครหุ่นเชิดญี่ปุ่น

ละครหุ่นเชิดญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็น "Jidaimono" ที่เป็นเรื่องราวช่วงก่อนยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603-1868) "Sewamono" ที่กล่าวถึงเรื่องราวของประชาชนทั่วไป และ "Keiji" ที่เน้นดนตรีเป็นองค์ประกอบหลัก
โดยตัวอย่างผลงานที่โดดเด่นของ Jidaimono ก็คือ "Yoshitsune Senbonzakura (โยชิสุเนะกับต้นซากุระพันต้น)" ส่วนของ Sewamono จะเป็น "Sonesaki Shinjuu (การฆ่าตัวตายเพราะรักของโซเนะซากิ)" และ Keiji ก็จะมี "Gojobashi (สะพานห้าเส้น)" เป็นต้น

หารแสดงละครหุ่นเชิด หาดูได้ที่ไหน?

หารแสดงละครหุ่นเชิด หาดูได้ที่ไหน?

นอกจากในโอซาก้าแล้ว ละครหุ่นเชิดญี่ปุ่นยังถูกนำไปจัดแสดงตามโรงละคร หรือฮอลล์ต่าง ๆ ในหลากหลายพื้นที่ และใน "โรงละครหุ่นเชิดแห่งชาติ" ที่อยู่ใจกลางเมืองโอซาก้า ก็สามารถรับชมการแสดงพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่เรียกว่า
“ละครโน" ไปพร้อมกันได้ด้วยเช่นกัน

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

 
บทความใหม่
ค้นหา