ที่ประเทศญี่ปุ่นมีร้าน “อิซากายะ” (ร้านนั่งดื่มสไตล์ญี่ปุ่น) สถานที่ที่สามารถเพลิดเพลินกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารได้ในบรรยากาศสบายๆ เสน่ห์ของร้านแบบนี้คือ นอกจากจะสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์หรือเหล้าญี่ปุ่นได้ในราคาที่สมน้ำสมเนื้อแล้วยังมีเมนูอาหารที่ชาวญี่ปุ่นทานกันเป็นประจำให้เลือกอีกมากมาย และยังคึกคักไปด้วยพนักงานบริษัทที่เลิกจากงาน จึงสามารถสัมผัสกับโฉมหน้าจริงๆ ของชาวญี่ปุ่นได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามร้านอิซากายะก็มีเรื่องชวนสับสนมากมายสำหรับชาวต่างชาติที่มาเป็นครั้งแรก ดังนั้นในครั้งนี้เราจะมาแนะนำภาษาญี่ปุ่นที่มักจะใช้กันในร้านอิซากายะ เริ่มตั้งแต่เข้าร้าน ไปจนถึงออกจากร้านให้ได้ทราบกันค่ะ
ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้เมื่อ “เข้าร้าน” อิซากายะ
โดยพื้นฐานแล้วร้านอิซากายะสามารถเข้าได้เลยโดยไม่ต้องจองหากมีที่นั่งว่าง หากพบร้านอิซากายะที่สนใจ ก็ลองลอดผ่านโนเร็น (ป้ายผ้าแขวนหน้าร้าน) เข้าไปดูกันนะคะ
●อิรัชไชมาเสะ (ยินดีต้อนรับครับ/ค่ะ)
สิ่งที่จะได้ยินเป็นอย่างแรกเมื่อเข้าร้านก็คือคำว่า “อิรัชไชมาเสะ!” อันแข็งขันของพนักงาน โดย “อิรัชไชมาเสะ” มีความหมายว่า “ยินดีต้อนรับ” เป็นคำที่แสดงถึงความยินดีที่ลูกค้ามาที่ร้านค่ะ โดยคำว่า “อิรัชไชมาเสะ” นี้ไม่ได้ใช้แค่ในร้านอิซากายะเท่านั้น แต่เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในญี่ปุ่นเมื่อมีลูกค้าเข้าร้านค่ะ
●นันเมซามะ เดสก๊ะ? (มากี่ท่านครับ/คะ?)
เป็นประโยคที่จะได้ยินพนักงานถามบ่อยๆ เมื่อจะนำลูกค้าไปยังที่นั่งค่ะ โดยมีความหมายว่า “มาที่ร้านกันกี่ท่านครับ/คะ” จะดีที่สุดหากสามารถตอบเป็นคำพูดได้เช่น “ฮิโตหริเดส” ( 1 คนครับ/ค่ะ) แต่หากพูดไม่ได้ก็สามารถชูนิ้วบอกจำนวนได้ค่ะ
คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับ “ที่นั่ง” ในร้านอิซากายะ
ร้านอิซากายะมีการเตรียมที่นั่งไว้หลากหลายแบบ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละร้าน เพื่อที่จะบอกที่นั่งแบบที่ต้องการได้ เรามาจำที่นั่งแต่ละแบบที่สามารถพบเจอได้ที่ร้านอิซากายะกันเอาไว้ดีกว่าค่ะ
●เคานต้า เซกิ (ที่นั่งเคาน์เตอร์)
ที่นั่งในร้านอิซากายะสามารถแบ่งกว้างๆ ได้ 2 แบบค่ะ โดยที่นั่งที่นั่งเรียงหน้ากระดานเข้าหาที่ประกอบอาหารจะเรียกว่า “เคานต้าเซกิ” โดยส่วนมากลูกค้าที่มากัน 1-2 คนจะเลือกใช้บริการ สามารถดื่มเหล้าไปชมการทำอาหารไปหรือพูดคุยกับพนักงานไปด้วยได้
●เทบุหรุ เซกิ (โต๊ะนั่งทั่วไป)
ที่นั่งแบบในร้านอาหารทั่วไปที่เรียกกันว่า “เทบุหรุ เซกิ” สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่จำนวนคนน้อยๆ ไปจนถึงกลุ่มใหญ่แล้วแต่ขนาดโต๊ะ หรืออาจจะนั่งร่วมกับลูกค้าท่านอื่นด้วย
●ซะชิกิ (ที่นั่งแบบญี่ปุ่น)
พื้นที่ถูกปูด้วยเสื่อทาตามิซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า “ซะชิกิ” ซึ่งจะต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นไปค่ะ โดยบางร้านจะมีซะชิกิแบบที่ด้านล่างโต๊ะเจาะเป็นช่องไว้สำหรับหย่อนขาได้ที่เรียกว่า “โฮริโกทัตสึชิกิ” โดยจะสามารถนั่งผ่อนคลายสบายๆ ได้โดยที่ไม่ต้องนั่งคุกเข่า
●โขะชิทสึ (ห้องส่วนตัว)
คือห้องที่กั้นแยกออกจากที่นั่งอื่นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากพักผ่อนแบบสบายๆ ไม่ต้องสนใจสายตาคนรอบข้าง ส่วนที่นั่งที่มีการกั้นผนังแค่บางส่วนจะเรียกว่า “ฮังโขะชิทสึ”
ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้เกี่ยวกับ “สิ่งของ” ในร้านอิซากายะ
เมื่อถึงที่นั่งแล้วคราวนี้มาทานของที่ชอบกันเถอะค่ะ แต่ก่อนหน้านั้น หากทำความรู้จักกับชื่อและวิธีใช้สิ่งของที่เห็นได้บ่อยๆ ในร้านอิซากายะเอาไว้ก่อนก็จะช่วยให้สะดวกยิ่งขึ้นค่ะ
●โอชิโบริ (ผ้าเช็ดมือ)
เมื่อนั่งประจำที่แล้ว พนักงานจะส่งผ้าขนหนูเปียกผืนเล็กๆ ให้ค่ะ โดยมีหลายประเภททั้งแบบร้อน แบบเย็น แบบที่ทำจากผ้า หรือที่ทำจากกระดาษ บ้างก็จะเรียกกันว่า “โอเทะฟุกิ” ค่ะ
●เมนิว (เมนูอาหาร)
คือรายการอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แบ่งเอาไว้ตามประเภท มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “menu” ที่นำมาเขียนเป็นคาตาคานะ (ออกเสียงแบบญี่ปุ่น) นอกจากนี้บางร้านก็ยังเตรียมเมนูภาษาอังกฤษเอาไว้ให้ต่างหากด้วย หากต้องการเมนูภาษาอังกฤษก็ลองถามว่า “เอโกะ โนะ เมนิว วะ อาริมัสก๊ะ?” ดูได้นะคะ
●โคะซาหระ (จานแบ่ง)
มีความหมายว่าจานใบเล็ก ๆ ที่ร้านอิซากายะมักจะมีการสั่งอาหารจานใหญ่มาตักแบ่งกันทาน ดังนั้นส่วนมากที่ร้านจะมีการเตรียมจานแบ่งวางเอาไว้ให้ในแต่ละโต๊ะ หรือยกมาให้ตอนนำอาหารมาเสิร์ฟ หากจานที่ใช้ตักแบ่งไม่พอก็สามารถบอกพนักงานว่า “โคะซาหระ โอ๊ะ คุดาไซ” เพื่อขอเพิ่มได้ค่ะ
ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้เกี่ยวกับ “การสั่งเครื่องดื่ม” ในร้านอิซากายะ
โดยพื้นฐานแล้วเมื่อถึงที่นั่งก็จะเริ่มสั่งเครื่องดื่มกันก่อน โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีมากมายหลายประเภท เรามาจำเมนูเครื่องดื่มพื้นฐานกันดีกว่าค่ะ
●นามะบีหรุ (เบียร์สด)
หมายถึง “draft beer” ในภาษาอังกฤษค่ะ คนญี่ปุ่นส่วนมากเมื่อมาถึงก็มักจะสั่งเบียร์สดกันเอาไว้ก่อน โดยพูดว่า “โทริอาเอซุ นามะเดะ” เรียกว่าการชนแก้วแรกกันด้วยเบียร์สดเย็นๆ ที่รินไว้ในเหยือกเป็นสไตล์ของร้านอิซากายะในประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ค่ะ
●นิฮงฉุ (เหล้าญี่ปุ่น)
โดยส่วนมากจะหมายถึงเหล้าของญี่ปุ่นที่หมักจากข้าว หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่า “(Japanese) sake” ค่ะ นอกจากนี้ยังมีเหล้าพื้นบ้านที่ผลิตขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่เรียกว่า “จิซาเกะ” อีกด้วย ลองดื่มกันดูได้นะคะ โดยชื่อเรียกจะแตกต่างกันไปแล้วแต่อุณหภูมิของเหล้าที่เสิร์ฟค่ะ ดังนั้นจะต้องบอกว่าต้องการดื่มแบบไหน อย่างเช่น “ “ฮิยะ” เด๊ะ โอเนไงชิมัส” ค่ะ
“ฮิยะ”...อุณหภูมิห้อง
“เรฉุ”...แช่เย็น
“อัตสึคัง”...อุ่น 50-55 องศา
●โชจู
คือเหล้ากลั่นของญี่ปุ่น โดยวัตถุดิบคือข้าว, ข้าวสาลี, มันเทศ หรือโซบะ โดยจะมีวิธีดื่มดังต่อไปนี้ ลองหาสไตล์การดื่มที่ชอบกันดูนะคะ
“สุโตเรโตะ” ...คือการดื่มโชจูโดยไม่ผสมอะไร
“มิสุวาริ” ...ผสมน้ำ เป็นวิธีดื่มแบบทั่วไป
“โอยุวาริ” ...ดื่มแบบผสมน้ำร้อน
นอกจากนี้ “ชูไฮ” หรือ “ซาว่า” ซึ่งเป็นการนำโชจูมาผสมกับชา, โซดา หรือน้ำผลไม้ก็เป็นที่นิยมค่ะ
●นอนอะรุโกหรุ (เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์)
มาจากคำว่า “non-alcohol” เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่เตรียมไว้สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ค่ะ
ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้เกี่ยวกับ “การสั่งอาหาร” ในร้านอิซากายะ
มาจำภาษาญี่ปุ่นที่มีประโยชน์ในการ “สั่ง” ของกินที่ชอบจากเมนูมากมายกันเถอะค่ะ มาลองทานอาหารญี่ปุ่นมากมายหลายประเภทที่เหมาะอย่างมากกับการทานเป็นกับแกล้มเหล้ากันดูนะคะ
●จูมง โอะ โอเนไงชิมัส (ของสั่งอาหารหน่อยครับ/ค่ะ)
เมื่ออยากจะสั่งอาหารจากพนักงาน ลองพูดประโยคนี้ดูนะคะ โดยหากยกมือขึ้นมาด้วยก็จะช่วยให้พนักงานสังเกตเห็นได้ง่ายค่ะ โดยจะมีบางร้านจะมีปุ่มกดเรียกพนักงานเตรียมเอาไว้ให้ค่ะ
●โอสุสุเมะ วะ นันเดสก๊ะ? (มีเมนูอะไรแนะนำไหมครับ/คะ)
ตอนที่ลังเลว่าจะสั่งอะไรดี ลองถามแบบนี้แล้วให้พนักงานแนะนำให้ดูนะคะ โดยบางร้านก็จะเขียน “ฮงจิตสึโนะโอสุสุเมะ” (เมนูแนะนำวันนี้) เอาไว้ให้ตามกระดานบนผนังค่ะ
●โคเร โอ๊ะ โอเนไงชิมัส (ขอสั่งอันนี้ครับ/ค่ะ)
หากตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะสั่งได้แล้ว ให้ชี้นิ้วที่เมนูแล้วพูดว่า “โคเร โอ๊ะ โอเนไงชิมัส” ก็สามารถสั่งได้แล้วค่ะ “โคเร” แปลว่า “this” ในภาษาอังกฤษ หากจำเอาไว้ก็สามารถนำไปใช้ได้ในหลายสถานการณ์ สะดวกมากค่ะ
ต่อไปจะขอแนะนำอาหารพื้นฐานที่มักจะมีในร้านอิซากายะให้รู้จักกันนะคะ
●เอดามาเมะ
ถั่วเหลืองที่ยังเป็นสีเขียวต้มสุกโรยด้วยเกลือ เหมาะมากในการทานคู่กับเบียร์ ระยะหลังมานี้ในต่างประเทศก็ได้รับความนิยมโดยเรียกทับศัพท์กันว่า “edamame” ด้วยค่ะ
●ฮิยะยักโกะ (เต้าหู้เย็น)
เต้าหู้เย็นที่โรยหน้าด้วยต้นหอมหรือขิง ทานคู่กับโชยุค่ะ
●คาราอาเกะ
เนื้อสะโพกไก่ทอด โดยหมักเนื้อไก่ด้วยโชยุหรือขิงและกระเทียม จากนั้นคลุกด้วยแป้งมัน หรืออาจะเรียกได้ว่าไก่ทอดสไตล์ญี่ปุ่นค่ะ
●ยากิโทริ (ไก่ย่างเสียบไม้)
ส่วนต่างๆ ของไก่ หั่นเป็นคำใหญ่ๆ นำมาเสียบไม้แล้วลนไฟ ทานกับน้ำซอสหรือเกลือ คำว่า “tori” ในยากิโทริแปลว่าเนื้อไก่ หากเป็นเนื้อหมูหรือเนื้อวัวจะเรียกว่า “คุชิยากิ”
ถ้าพนักงานเสิร์ฟอาหารที่ไม่ได้สั่ง อย่าตกใจ! นั่นคือ “โอะโทชิ”
เมื่อสั่งเครื่องดื่มแล้ว พนักงานจะนำอาหารที่ใส่เอาไว้ในถ้วยเล็กๆ มาวางให้ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า “โอะโทชิ” เป็นระบบที่รู้จักกันดีในร้านอิซากายะของญี่ปุ่น คือจะมีการเก็บ “ค่าผ่านทาง” ให้ถือเสียว่าเป็นการชาร์จค่าโต๊ะในรูปแบบของญี่ปุ่นนะคะ
ที่ร้านอิซากายะ ระหว่างที่ “กำลังดื่ม” ก็มีภาษาญี่ปุ่นน่าจำมากมาย!
หากสั่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็แค่รออาหารอร่อยๆและเครื่องดื่ม มาเสิร์ฟค่ะ มาลิ้มรสชาติอาหารญี่ปุ่นไปพร้อมๆ กับบรรยากาศที่สนุกสนานกันนะคะ
●คัมไป (ชนแก้ว)
ในการดื่มแก้วแรกจะมีการชนแก้วกันค่ะ โดยเอาแก้วมาชนกันเบาๆ แล้วก็พูดว่า “คัมไป!” นะคะ
●โอคาวาริ โอ๊ะ คุดาไซ (ขอเพิ่มอีกครับ/ค่ะ)
เมื่ออยากสั่งเครื่องดื่มหรืออาหารแบบเดิมเพิ่มจะใช้คำว่า “โอคาวาริ โอ๊ะ คุดาไซ” ค่ะ หากพูดว่า “โอคาวาริ โอ๊ะ คุดาไซ” พนักงานก็จะนำของที่เหมือนกันมาเสิร์ฟให้ค่ะ
●โออิชี่เดส (อร่อยมากครับ/ค่ะ)
หากเครื่องดื่มหรืออาหารที่ทานอร่อยก็ลองบอกพนักงานดูนะคะ นอกจากเขาจะดีใจแล้ว อาจจะช่วยให้พนักงานรู้รสชาติที่คุณชอบและแนะนำอาหารใหม่ๆ ให้ก็ได้ค่ะ
สุดท้ายนี้...ขอแนะนำภาษาญี่ปุ่นน่ารู้ที่ใช้ใน “การคิดเงิน” ที่ร้านอิซากายะ
เมื่อเพลิดเพลินกับช่วงเวลาในร้านอิซากายะเสร็จแล้ว ก็คงจะอยากคิดเงินและออกจากร้านไปได้อย่างสวยงาม สินะคะ จากนี้จะขอแนะนำภาษาญี่ปุ่นที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีจนถึงตอนที่ออกจากร้านเลยค่ะ
●โกจิโซซามะเดชิตะ
โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคำที่ใช้พูดเมื่อทานอาหารเสร็จ แต่ถ้าหากบอกพนักงานที่ร้านว่า “โกจิโซซามะเดชิตะ” ก็จะเป็นสัญญาณบอกให้คิดเงินได้ด้วย หรือจะพูดว่า “โอะไคเค โอเนไงชิมัส” ก็ได้ค่ะ
●อาริกาโตะโกไซมะชิตะ
เมื่อชำระเงินเสร็จและกำลังจะออกจากร้าน พนักงานจะกล่าวขอบคุณโดยพูดว่า “อาริกาโตะโกไซมะชิตะ” ตามมารยาทแล้วฝ่ายลูกค้าก็จะตอบว่า “อาริกาโตะโกไซมะชิตะ” “โกจิโซซามะเดชิตะ” หรือ “โออิชิคัตตะเดส” ค่ะ
ยังมีอิซากายะอีกหลายร้านที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นหากจำระบบหรือภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเอาไว้ แม้จะเป็นชาวต่างชาติก็สามารถสนุกสนานได้ไม่มีปัญหาค่ะ พนักงานและลูกค้าส่วนมากจะอัธยาศัยดี จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะสัมผัสกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ง่ายๆ เลยค่ะ
- พื้นที่
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.
-
เส้นทางยอดนิยมสำหรับท่องเที่ยวอะตะมิ
-
เสน่ห์ของการชมดอกไม้ที่อุเอโนะ โตเกียว ทั้ง 4 ฤดูกาล (ผลิ ร้อน ร่วง หนาว) และข้อมูลงานกิจกรรมต่างๆ
-
กูรูด้านอาหารต้องรู้! รวมคำศัพท์ “เฉพาะเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น” ที่สามารถใช้ได้ในร้านอาหาร
-
5 จุดแนะนำสำหรับท่องเที่ยวมือเปล่ารอบ ๆ นาริตะ เหมาะกับเวลาว่างก่อนหรือหลังขึ้นเครื่อง!
-
สถานที่ห้ามพลาดเมื่อได้ไปเยือนนาริตะ 19 แห่ง รวบรวมไว้ทั้ง แหล่งท่องเที่ยว ที่ชอปปิ้ง และอาหารรสเด็ดไว้ให้คุณเรียบร้อยแล้ว
-
[คู่มือท่องเที่ยวนิกโก้] ไม่ได้มีเพียงแค่ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น! ยังรวบรวมกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวแนะนำในแต่ละฤดูกาล
-
Top Ranked Hakone Hotels with Mt. Fuji View: Enjoy Stunning Scenery from Your Private Space
-
Convenient Tokyo Hotels with Airport Shuttle: Ideal for Families and Heavy Luggage
-
Stunning Tokyo Tower View Hotels: Enjoy Spectacular Scenery from Your Private Space
-
Family-Friendly Hotels with Free Shuttle to Disneyland: Convenient Access for a Magical Stay
-
Convenient Asakusa Hotels with Kitchens: Ideal for Extended Family Visits
-
Experience Luxury: Hakone's 10 Best Five-Star Accommodations
-
Enjoy Mt. Fuji Autumn Leaves! Top Hotels Near the Popular Autumn Leaves Corridor
-
Experience Hakone Fall Foliage from Your Room with Stunning Views
-
Enjoy Mt. Fuji from the Comfort of Your Room! Recommended Ryokan with Mt. Fuji View
-
Experience Luxury at Mt. Fuji Resort Hotels! Best Extended Stay Options for Families