
ทั้งโอะคะยุและโซซุอิจัดเป็นอาหารประเภทข้าวจำพวกหนึ่งโดยใช้วิธีหุงกับน้ำหรือซุป (ข้าวต้ม) เป็นอาหารที่ย่อยง่าย และเนื่องจากไม่ใช้น้ำมันจึงทำให้กระเพาะไม่ทำงานหนัก
ความแตกต่างระหว่างข้าวสวย โอะคะยุ และโซซุอิ

เวลาที่หุงข้าว จะเติมปริมาณน้ำมากกว่าเวลาหุงข้าวสวยตามปกติ เรียกว่า "โอะคะยุ" "โซซุอิ" คือข้าวที่หุงสุกแล้ว นำไปต้มกับน้ำซุปหรือน้ำดะชิ
โซลฟู้ดของคนญี่ปุ่น

โอะคะยุเริ่มปรากฏในบันทึกต่าง ๆ นับจากศตวรรษที่ 11
เป็นอาหารที่มักทำขึ้นในครัวเรือนเพื่อเป็นอาหารสำหรับเด็กอ่อนที่กำลังจะหย่านมหรือผู้ป่วย
พื้นฐานคือโอะคะยุสีขาวที่เรียบง่าย

"ชิระงะยุ" คือข้าวต้มที่ไม่มีการปรุงรสชาติอะไร
ความแข็งของเมล็ดข้าวมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสัดส่วนระหว่างข้าวกับน้ำ
มีตั้งแต่แบบที่นิ่มกว่าข้าวสวยเล็กน้อยจนถึงแบบที่แทบไม่เป็นเมล็ดเหลว ๆ
"ชิระงะยุ" มักรับประทานคู่เครื่องเคียงที่รสชาติเข้มข้น
หนึ่งในนั้นก็คือ "อุเมะโบะชิ" ที่เป็นลูกบ๊วยแช่เกลือแล้วตากแห้ง
เครื่องเคียงที่เข้ากับชิโระงะยุได้ดี

ของที่มักรับประทานคู่กับชิระงะยุ ยกตัวอย่างเช่น ชิโอะคมบุ (สาหร่ายต้มโชยุตากแห้ง)
และสึเคะโมะโนะต่าง ๆ สึเคะโมะโนะหมายถึง ผักที่หมักดองโดยคลุกเกลือหรือรำข้าว
นะนะคุสะงะยุ

ญี่ปุ่นมีธรรมเนียมเก่าแก่มานาน คือการรับประทานนะนะคุสะงะยุ ในวันที่ 7 มกราคมเพื่อขอพรให้มีสุขภาพดีตลอดปี นะนะคุสะงะยุมีผักเจ็ดชนิดที่หุงพร้อมกับข้าว ได้แก่"เซะริ" "นะซุนะ" "โกะเงียว" "โฮะโตะเกะโนะซะ" "สุซุนะ" และ "สุซุชิโกะ" บ้างก็ว่าเป็นการหวังผลให้กระเพาะที่อ่อนแอจากการกินดื่มอย่างหนักหน่วงในช่วงปีใหม่ได้พักผ่อน
โอะคะยุที่ใส่ถั่วแดงอะซุกิ

ญี่ปุ่นยังมีธรรมเนียมรับประทานถั่วแดงต้มกับข้าว "อะซุกิงะยุ" ในวันที่ 15 มกราคมอีกด้วย
ถั่วแดงอะซุกินั้นว่าต่อกันมานานว่ามีพลังปัดเป่าสิ่งเลวร้าย การรับประทาน "อะซุกิงะยุ"
จึงเป็นการขอพรให้โรคร้ายและความคิดชั่วช้าต่าง ๆ ไม่ย่างกรายเข้ามาใกล้ตน
ตามปฏิทินจันทรคติแล้ววันดังกล่าวนี้ยังตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง
ข้าวต้มที่รับประทานพลางชมจันทร์ จึงมีอีกชื่อว่า "โมะจิกะยุ"
ชะงะยุ

"ชะงะยุ" ที่นิยมรับประทานกันมากในจังหวัดนะระนั้น จะใช้น้ำที่ได้จากการต้มใบชาญี่ปุ่น (ชาเขียว) เป็น "โฮจิฉะ" มาต้มข้าวเป็นอาหารที่พระสงฆ์ในวัดในท้องถิ่นนี้ฉันมาแต่เก่าก่อนเกินร้อยปีในหน้าร้อนก็ทำให้เย็นก่อนรับประทาน บ้างก็รับประทานพร้อมผักต่าง ๆ มันญี่ปุ่น หรือถั่วต่าง ๆ ก็มี
ตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่นจะปิดท้ายด้วยโซซุอิเมื่อรับประทานหม้อไฟ

คนญี่ปุ่นจำนวนมาก เมื่อรับประทานอาหารในหม้อไฟหมดแล้ว
ก็จะนำข้าวมาเทใส่น้ำที่เหลืออยู่ทำเป็น "โซซุอิ"
ส่วนใหญ่แล้ว ภัตตาคารที่มีเมนูหม้อไฟก็จะมี "เซ็ตโซซุอิ"
(ประกอบด้วยข้าว ไข่ และต้นหอมซอย) ให้สั่งเพิ่มได้
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.
Recommended places for you
-
Jukuseiniku-to Namamottsuarera Nikubaru Italian Nikutaria Sannomiya
Izakaya
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
Kambei Sannomiyahonten
Yakiniku
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
Kanzenkoshitsuyakinikutabehodai Gyugyu Paradise Sannomiya
Yakiniku
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
Appealing
Rukku and Uohei
Izakaya
Sapporo / Chitose
-
Goods
Yoshida Gennojo-Roho Kyoto Buddhist Altars
Gift Shops
Nijo Castle, Kyoto Imperial Palace
-
ISHIDAYA Hanare
Yakiniku
Kobe, Sannomiya, Kitano
-
หากต้องการใช้ชีวิตยามราตรีในโตเกียวล่ะก็ มีบาร์ที่อยากกให้ลองไปกัน
-
5 จุดแนะนำสำหรับท่องเที่ยวมือเปล่ารอบ ๆ นาริตะ เหมาะกับเวลาว่างก่อนหรือหลังขึ้นเครื่อง!
-
ไม่ต้องไปไกลถึงฟุคุโอกะ ก็ทานราเม็งซุปกระดูกหมูสูตรเด็ดในโตเกียวได้!
-
เส้นทางยอดนิยมสำหรับท่องเที่ยวอะตะมิ
-
[MOVIE] ไปดูโชว์แล่ปลามากุโร่และลิ้มรสปลาสดๆแล่ใหม่ๆกันเถอะ!
-
สถานที่ห้ามพลาดเมื่อได้ไปเยือนนาริตะ 19 แห่ง รวบรวมไว้ทั้ง แหล่งท่องเที่ยว ที่ชอปปิ้ง และอาหารรสเด็ดไว้ให้คุณเรียบร้อยแล้ว
-
ชำแหละให้หมดเปลือกกับย่านยะเนะเซ็นที่ยังคงหลงเหลือบรรยากาศแบบญี่ปุ่นสมัยก่อน
-
5 วิธีสนุกที่รปปงหงิฮิลส์
-
เผยหมดเปลือก ตลาดด้านนอกของซึกิจิ !
-
วิธีใช้บริการโรงแรมแคปซูลอย่างชาญฉลาด
-
การเดินทางจากสนามบินนาริตะ มาประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกก็ไม่มีปัญหา!
-
วัฒนธรรมโอะฟุโระ (การแช่น้ำร้อนญี่ปุ่น) และวิธีการใช้โอะฟุโระ