HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว โตเกียว ชิบะมะตะ/คิตะ-เซนจู/คาเมะอาริ [MOVIE] แค่กินอย่างเดียวไม่เก๋ ต้องลองทำด้วย! ไปทำซูชิกัน
[MOVIE] แค่กินอย่างเดียวไม่เก๋ ต้องลองทำด้วย! ไปทำซูชิกัน

[MOVIE] แค่กินอย่างเดียวไม่เก๋ ต้องลองทำด้วย! ไปทำซูชิกัน

Last updated: 27 ก.ค. 2561

ครั้งนี้ผมได้ไปลองปั้นซูชิที่ผมรอคอยมานานมาล่ะครับ ผมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และประเพณีการกินซูชิ อาหารจานโปรดของคนทั่วโลก แถมพวกเรายังได้ทานซูชิที่ปั้นมาเองกับมืออีกด้วย ประสบการณ์แบบนี้เป็นอะไรที่หาได้ยากสุดๆ แถมยังได้ทานซูชิที่ทำเองเท่าไหร่ก็ได้อีกต่างหาก ช่างมีความสุขอะไรอย่างนี้!

ห้องเรียนปั้นซูชิสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ

ห้องเรียนปั้นซูชิสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ

ก่อนที่จะได้เรียนรู้การปั้นซูชิ ผมก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ Morris อาจารย์ที่จะสอนพวกเราในครั้งนี้ และยังเป็นผู้ก่อตั้งห้องเรียนซูชิสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะอีกด้วย แต่ก่อนคุณ Morris ทำงานเป็นซาลารี่แมน แล้วลาออกไปเรียนภาษาอังกฤษพร้อมกับท่องเที่ยวไปทั่วโลก และตอนที่ได้มาญี่ปุ่น ก็มีโอกาสได้ลองปั้นซูชิเป็นครั้งแรก แล้วรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากๆ จนคิดว่า “อยากจะแชร์สิ่งเหล่านี้ให้กับชาวต่างชาติคนอื่นๆ ที่มาเที่ยวญี่ปุ่นบ้าง!” จึงตัดสินใจก่อตั้งห้องเรียนนี้ขึ้นมา นับตั้งแต่โรงเรียนเปิดขึ้นในปี 2013 ก็มีชาวต่างชาติมากกว่า 3,000 คนเข้ามาสัมผัสประการณ์การปั้นซูชิแล้ว

ห้องเรียนนี้ เดินไม่ไกลจากสถานี “คิตาเซ็นจู” สามารถเลือกห้องเรียนจาก 2 ประเภทคือห้องเรียนที่รองรับนักเรียนจำนวนน้อย รองรับได้มากสุด 8 คน กับห้องเรียนที่รองรับนักเรียนจำนวนมาก ซึ่งรองรับได้มากสุดถึง 60 คน เนื่องจากเราไปกันสามคน จึงเลือกแบบคนน้อย เป็นห้องเรียนขนาดเล็กที่มีบรรยากาศเหมือนอยู่บ้านเลยล่ะครับ

ช่วงเวลาสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ช่วงเวลาสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ห้องเรียนทำอาหารเท่านั้น เมื่อนั่งที่โต๊ะเรียบร้อย คุณ Morris ก็ให้พวกเราดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังต่างประเทศ พูดคุยกับผู้คน และเรียนรู้วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น พูดง่ายๆ ก็คือ เรื่องราวในวีดีทัศน์นี้คือพื้นฐานของห้องเรียนปั้นซูชิแห่งนี้นั่นเอง ห้องเรียนแห่งนี้อัดแน่นไปด้วยความตั้งใจที่ต้องการให้ผู้คนได้รับรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านซูชิ วัฒนธรรมหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากของญี่ปุุ่น

หลังจากที่ดูวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ก็มีควิซแบบเลือกตอบมาให้เล่น ผมชอบซูชิมากกว่าใคร จึงมั่นใจมากว่าจะตอบคำถามได้ง่ายๆ แบบรวดเดียวผ่าน แต่ว่ามันยากกว่าที่คิดมากเลยล่ะ จากนั้นก็เข้าสู่ชั่วโมงประวัติศาสตร์ซูชิ ว่ากันว่าแต่ดั้งแต่เดิมซูชิมีรูปร่างคล้ายข้าวปั้นในปัจจุบัน ปลาก็ถูกห่ออยู่ในข้าว และขนาดของข้าวปั้นก็ใหญ่กว่าของปัจจุบันมาก เวลากินจะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ก็เลยเป็นที่มาว่าเวลาเสิร์ฟซูชิจะต้องเสิร์ฟ 2 ชิ้นเป็นหนึ่งเซตไงล่ะ

ความยากของการปั้นซูชิ

ความยากของการปั้นซูชิ

“นิกิริ” หรือการวางชิ้นปลาที่หั่นแล้วไว้บนข้าวที่คลุกกับน้ำส้มสายชูญี่ปุ่น “นิกิริ” ถือว่าเป็นสรรพนามของซูชิก็ว่าได้ ในโลกของซูชินั้น เราเรียกปลาหั่นเป็นชิ้นว่า “เนตะ” และเรียกข้าวผสมน้ำส้มสายชูว่า “ชาริ” และเมื่อนำสองสิ่งนี้มาประกอบเป็นชิ้นจะเรียกว่า “นิกิริ” ซึ่งการทำนิกิรินั้นมีขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายขั้นตอน แม้ว่าเพียงแวบแรกอาจจะมองว่ามันง่าย แต่จริงๆ แล้วยากอย่าบอกใครเลยเชียวล่ะ พวกเราพยายามมองแล้วทำตาม แต่ก็ยังไม่ค่อยจะเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่ คุณ Morris จึงค่อยๆ ทำให้ดูอย่างช้าๆ พวกเราได้เรียนรู้จากคุณ Morris แม้ว่าจะทำไม่ได้สวยเหมือนมืออาชีพ แต่คิดว่าเข้าใจถึงขั้นตอนและความสามารถที่จำเป็นในการทำนิกิริได้พอสมควร

ชาริ

ชาริ

หลังจากที่เรียนขั้นตอนการปั้นซูชิแล้ว คราวนี้ก็มาเรียนรู้วิธีการทำ “ชาริ” ที่ใช้กัน โดยปกติแล้ว จะใส่น้ำตาลกับเกลือลงในน้ำส้มสายชู และผสมให้เข้ากันกับข้าว ส่วนเรื่องของสัดส่วนเครื่องปรุงนั้นแตกต่างไปตามแต่ละพ่อครัว โดยทั่วไป หากไปซูปเปอร์มาร์เก็ต ไม่ว่าจะซูปเปอร์ไหนก็มีซูชิสุ หรือน้ำส้มสายชูสำหรับทำซูชิวางขายปกติอยู่แล้ว หากใครต้องการทำซูชิทานกันที่บ้านหรือในห้องเรียน ก็ใช้แบบสำเร็จรูปได้อย่างไม่มีปัญหา และคุณ Morris ยังบอกอีกว่านอกจากข้าวญี่ปุ่นแล้ว ไม่ว่าจะข้าวไทยหรือข้าวจากต่างประเทศก็ไม่เหมาะกับซูชิเอาเสียเลย

เอาล่ะ ได้เวลาทำชาริแล้ว เราก็ได้รับข้าวสวยร้อนๆ ที่ใส่ไว้ในกะละมังไม้ที่ในถาษาญี่ปุ่นเรียกว่า คิโนะโอเขะ ฮังได ไม้จะทำหน้าที่ช่วยดูดซึมน้ำส่วนเกินจากข้าว จึงต้องเตรียมข้าวสำหรับทำชาริใส่ไม้ในกะลังไม้ แล้วเราก็เรียนขั้นตอนการทำข้าวใส่น้ำส้มสายชูเป็นชาริ โดนใส่น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะลงไปในข้าวแล้วใช้ทัพพีคลุกให้ทั่ว

ทดลองม้วนซูชิดู

ทดลองม้วนซูชิดู

มากิซูชิ หรือที่ต่างประเทศรู้จักกันในนาม “ซูชิโรล” ปกติแล้วที่ญี่ปุ่นจะใช้สาหร่ายม้วนข้าวกับไส้ทำเป็นมากิซูชิ แต่ที่ต่างประเทศนั้น มักจะเอาชาริไว้ด้านนอกซึ่งตรงกันข้ามกับญี่ปุ่น อย่างเช่น แคลิฟอเนียร์โรล โดยขั้นตอนการทำมากิซูชิของต่างประเทศนั้น เริ่มแรกก็ต้องวางชาริให้ทั่วสาหร่าย จากนั้นก็โรยงาจนทั่วแล้วกลับด้านให้สาหร่ายหงายขึ้นมาด้านหน้า ให้ข้าวอยู่ด้านหลัง จากนั้นก็ม้วน พวกเราเลือกเนตะอย่างปลาแซลมอน ปูอัด ไควาเระ ตั้งใจทำตามที่คุณครูสอนจนทำมากิซูชิแบบต้นตำหรับญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก!

จริงๆ แล้วมากิซูชิยังมีอีกหนึ่งชนิด นั่นก็คือ “เดโกะซูชิ” ซึ่งก็ตามชื่อเป็นการเด็กโคเรชั่นหรือประดับซูชินั่นเอง ซึ่งการที่จะทำซูชิชนิดนี้จะต้องอาศัยทีมเวิร์คมากเลยล่ะ เราจึงจับคู่กันเป็นทีม ซูชิทำจากเนตะที่มีสีสันสวยงามแทนดอกไม้ เป็นซูชิที่สวยที่สุดเท่าทีเห็นมาในวันนี้เลยล่ะ

ในการจะเพิ่มสีชมพูเข้าไป พวกเราเลยเลือกเม็นไทโกะ(ไข่ปลา)เป็นเนตะ แล้วก็ผสมฟุริคาเขะหรือผงโรยข้าวเข้าไปในข้าวส่วนหนึ่ง และใช้ชุบข้าวอีกส่วนหนึ่ง ส่วนตรงแกนกลางของมากิซูชิ เลือกไส้กรอกปลาเพื่อเพิ่มสีเข้าไป สาหร่ายที่ใช้ทำเดโกะซูชิจะแตกต่างจากมากิซูชิปกติ พวกเราเลือกใช้สาหร่ายหลายๆ แบบ และขั้นตอนการเตรียมก็ค่อนข้างจะซับซ้อน จึงใช้เวลามากกว่ามากิซูชิที่ทำไปเมื่อกี้ แต่ว่าพอทำเสร็จออกมาแล้วก็รู้เลยคุ้มกับเวลาที่เสียไป!

แล้วก็ถึงเวลาของนิกิริซูชิ

แล้วก็ถึงเวลาของนิกิริซูชิ

และแล้ว ในตอนนี้เราก็จะได้ทำนิกิริซูชิที่ได้ลองฝึกไปในตอนแรกแล้ว เพราะว่าใช้ชาริที่ปรุงด้วยน้ำส้มสายชู จึงรู้สึกต่างจากการทำโอนิกิริอยู่เล็กน้อย ผมค่อยๆ ใช้มือจับรูปร่างไปเรื่อยๆ จนจับเทคนิคได้ในที่สุด และเมื่อแต้มวาซาบิลงไปที่ชาริ วางเนตะ แล้วเราก็ได้นิกิริซูชิของจริงมาแล้ว! ใช้แซลม่อน มากุโระ บินโจวมากุโระ จนได้ซูชิมาสามชิ้น

และซูชิอย่างสุดท้ายที่ได้ทำก็คือ กุนคันมากิ โดยห่อสาหร่ายกับข้าวให้เป็นรูปวงรี จากนั้นก็ทำเนตะอัดลงไปตรงกลาง คราวนี้เราใช้เนกิโทโระ หรือปลามากุโระสับกับไข่ปลาแซลม่อน เมื่อเทียบกับซูชิแบบอื่นคิดว่าทำไม่ค่อยยากเท่าไหร่ แถมรูปร่างหน้าตายังสวยอีกด้วย

ลองทานเลย! “จะทานแล้วนะครับ!”

เมื่อทำซูชิทุกแบบเสร็จเรียบร้อยก็จัดการวางเรียงใส่จานให้สวยงาม เติมขิงดองหรือที่เรียกว่าการิลงไปข้างๆ ซูชิเสียหน่อย ก่อนที่จะทานซูชิ คุณ Morris ก็ได้สอนประโยคที่คนญี่ปุ่นจะเวลาทานอาหาร อย่างเช่น คำว่า “โออิชี่ (อร่อย)” ประโยคที่พูดก่อนทาน “อิทาดาคิมัส (จะทานแล้วนะ)” ประโยคที่พูดตอนทานเสร็จ (ขอบคุณสำหรับอาหาร)” เป็นต้น และแล้วก็ถึงเวลาชิม ที่ผ่านมา ผมได้ทานซูชิที่ญี่ปุ่นมานับไม่ถ้วนแล้ว แต่ก็อย่างว่านึกภาพไม่ออกเลยว่า วันนึงผมจะได้ลองทานซูชิฝีมือตัวเองสักวัน แล้วก็ไม่คิดเลยว่าซูชิเนี่ยจะมาเป็นตัวช่วยเติมเต็มทั้งหัวใจ ทั้งท้องให้อิ่มเอม ไม่เคยคิดเลยจริงๆ ช่างเถอะ เพราะมันอร่อยมากๆ !

แล้วการทำซูชิก็สิ้นสุดลง

แล้วการทำซูชิก็สิ้นสุดลง

ผมอยากจะแชร์ความรู้สึกของผู้ที่ได้มาร่วมกิจกรรมปั้นซูชิด้วยกันเสียหน่อยครับ

พาเมร่า : สนุกตั้งแต่ควิซก่อนเริ่มเนื้อหาแล้วครับ ขนาดคนที่อยู่ญี่ปุ่นจนรู้ไปหมดยังรู้สึกยากเลยแต่ก็สนุกมากเลยครับ
แต่ที่ประทับใจสุดๆ ก็คงต้องยกให้เป็นคุณ Morris ที่มาสอนเราให้ครั้งนี้แหละครับ เป็นคนที่อัธยาศัยดีมากๆ แม้จะเป็นครัวที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็สอนโดยไม่ทำหน้ามุ่ยใส่ ถึงพวกเราจะไม่เคยเจอกันมาก่อนก็ตาม แถมยังไม่ใช่แค่คุยเรื่องทั่วๆไปเท่านั้น ไม่ว่าจะคำถามแบบไหนก็ช่วยตอบให้อย่างดี

แป๊บเดียว ชั่วโมงเรียนของเราก็จบลง พวกเราสัมผัสได้ถึงฝีมืออันเก่งกาจของคุณครูอย่างมาก แต่ละขั้นตอนที่เขาสอน จะสอนเคล็ดลับให้ด้วย อย่างเช่น “คนทำซูชิจะปั้นซูชิแค่ 3 วิเท่านั้น เพื่อไม้ให้เนตะกับชาริสัมผัสความอุ่นจากมือ” การที่ได้มาเรียนซูชิกับเขาในครั้งนี้ ทำให้ผมมีความมั่นใจขึ้นว่าแม้แต่ผมก็ยังทำซูชิได้ และแน่นอนว่าวันนี้ที่เรียนไปเป็นแค่พื้นฐานของพื้นฐานเท่านั้น จากนี้ไปยังต้องฝึกฝนฝีมือเพื่อให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น เราได้เรียนรู้สัมผัสประสบการณ์ในห้องเรียนซูชิอย่างมากจนน่าตกใจเลยล่ะ ไม่ใช่แค่วิธีการทำอย่างเดียว ยังได้ลองทำซูชิหลายอย่างแทบจะทุกชนิดเลยก็ว่าได้ แถมยังเป็นห้องเรียนที่สนุกอีกด้วย

ที่อเมริกา ซูชิจัดว่าเป็นอาหารที่แพงมาก แต่ว่าการที่ได้มาเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นกับซูชิที่ห้องเรียนของคุณ morris ในครั้งนี้ ทำให้รู้เลยว่าเราเข้าใจผิดมาโดยตลอด ไม่คิดเลยว่าจะเรียนได้สนุกและรู้สึกได้ว่า ซูชิกับญี่ปุ่นเป็นอะไรที่ใกล้ตัวมากๆ

ที่นี่เป็นห้องเรียนที่ได้ประสบการณ์สุดยอดมากๆ เลย ได้เรียนทั้งซูชิ วัฒนธรรมญี่ปุ่น แถมได้ทานซูชิอร่อยๆ อีก เป็นความทรงจำที่จะเก็บไปตลอดชีวิตเลยครับ คุณเองก็ลองมาสัมผัสสักครั้งหน่อยเป็นไง

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา