HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว กุมมะ ชานเมืองกุมมะ เที่ยววนไปในมรกดโลก! โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ
เที่ยววนไปในมรกดโลก! โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ

เที่ยววนไปในมรกดโลก! โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ

Last updated: 4 เม.ย. 2560

เทคโนโลยีตะวันตกได้หลั่งไหลเข้ามาในญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ จนปี 1872 โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะก็เริ่มกิจการขึ้นในฐานะโรงงานที่บริหารงานโดยรัฐบาล ถือว่าเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นที่รัฐบาลเข้ามาบริหารงานเช่นนี้

“โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ”?

“โรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ”?

ช่วงปลายสมัยเอโดะ ภายหลังที่ญี่ปุ่นได้เปิดประเทศเริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับต่างประเทศอีกครั้ง สินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นก็คือ ไหมดิบ แต่เมื่อความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพกลับถูกวางทอดตลาด รัฐบาลจึงมีความคิดที่จะปฏิวัติการผลิตไหมเสียใหม่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและปริมาณการผลิตให้ดียิ่งขึ้น จึงเกิดนโยบายแห่งชาติ จัดสร้างโรงงานปั่นไหมโทมิโอกะ โรงงานอุตสาหกรรมปั่นไหมขึ้น แม้การบริหารงานจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา โรงงานปั่นไหมแห่งนี้ก็ดำเนินกิจการมาจนถึงสมัยโชวะ จนเมื่อความต้องการตลาดลดลง โรงงานจึงยุติการผลิต และจบหน้าประวัติศาสตร์โรงงานปั่นไหมด้วยอายุ 115 ปี ในปี 1987 ปัจจุบันโรงงานปั่นไหมโทมิโอกะได้รับการดูแลบำรุงรักษา และเปิดบางส่วนให้คนทั่วไปเข้าชม

ทัศนศึกษาด้วยไกด์เสียง หรือโปรแกรมทัวร์

ทัศนศึกษาด้วยไกด์เสียง หรือโปรแกรมทัวร์

ปัจจุบัน ส่วนที่เปิดให้เข้าชมมี 2 ส่วนได้แก่ “ฮิกาชิโอคิมายูโฉะ” กับ “โซชิโฉะ” วิธีเข้าชมนั้นมีทั้งไกด์เสียง (200 เยน) ที่มีให้บริการหลายภาษา หรือจะใช้สมาร์ทโฟนของท่านอ่าน QR code ที่อยู่บนแผ่นป้าย แล้วเดินชมสถานที่พร้อมฟังเสียงอธิบายของไกด์เสียงก็ได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมทัวร์จัดโดยมักคุเทศน์อีกด้วย (โปรแกรมทัวร์นี้มีให้บริการเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)

“ฮิกาชิโอคิมายูโฉะ” สถานที่จัดแสดงไหม

“ฮิกาชิโอคิมายูโฉะ” สถานที่จัดแสดงไหม

“ฮิกาชิโอคิมายูโฉะ” ส่วนใหญ่ใช้เป็นสถานที่เก็บรังไหม เป็นโกดัง 2 ชั้นขนาดใหญ่ อาคารแห่งนี้สร้างโดยช่างฝีมือชาวญี่ปุ่นตามคำชี้แนะของชาวฝรั่งเศส เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า “มกขะเร็นกะโซ (โครงสร้างไม้แล้วฉาบด้วยอิฐ)” ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น ภายในชั้น 1 เป็นที่จัดแสดงรังไหมดิบ ในห้องจัดแสดงมีพื้นที่จำหน่าย “TOMIOKA SILK” ผ้าไหมผลิตในญี่ปุ่น จากไหมที่เลี้ยงโดยเกษตกรเลี้ยงไหมในเมืองโทมิโอกะด้วย

สาธิตวิธีทำเส้นไหม

สาธิตวิธีทำเส้นไหม

ในช่วงวันจันทร์ - ศุกร์ บริเวณใกล้ๆ กับร้านค้า จะมีโชว์สาธิตการทำเส้นไหมแบบฝรั่งเศส ส่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะสาธิตวิธีใช้เครื่องสาวไหม “โจชูสะคุริขิ” เครื่องไม้เครื่องมือหลักที่นำเข้ามาใช้ในโรงงาน ผู้เข้าชมสามารถทดลองใช้เครื่องมือนี้ได้ด้วย เมื่อดูการสาธิตวิธีการสาวไหม ที่ต้องจับแฮนหมุนเพื่อสาวไหมแล้ว คงจะนึกภาพออกแล้วใช่ไหมว่า ประสิทธิภาพที่ได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมปั่นไหมนี้เพิ่มขึ้นมากเพียงใด

โรงปั่นไหมที่ยังหลงเหลือมาจากสมัยนั้น

โรงปั่นไหมที่ยังหลงเหลือมาจากสมัยนั้น

ในสมัยนั้นได้มีการนำเครื่องปั่นไหมสไตล์ฝรั่งเศสแบบใหม่ล่าสุดเข้ามา ซึ่งสถานที่ที่ใช้ในการปั่นไหมนั้นก็คือ “โซชิโฉะ” ตั้งอยู่ติดกับ “ฮิกาชิโอคิมายูโฉะ” ภายในอาคารยังคงสภาพเครื่องปั่นไหมแบบอัตโนมัติขณะหยุดการเดินเครื่องไว้อยู่

เดินเล่นรอบๆ “ฉุโจวคัง” และ “อาคารรักษาคนไข้”

เดินเล่นรอบๆ  “ฉุโจวคัง” และ “อาคารรักษาคนไข้”

แม้จะไม่สามารถเข้าไปด้านในได้ แต่สามารถเดินดูรอบๆ สถานที่ต่างๆ อย่าง “อาคารรักษาคนไข้” ที่สมัยนั้นใช้ดำเนินการตรวจรักษาตั้งแต่โรงงานเริ่มกิจการ หรือ “ฉุโจวคัง” ที่ตอนแรกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารรับรองของ พอล บรูนาต ผู้ฝึกสอนชาวฝรั่งเศส ภายหลังหมดสัญญาใช้เป็นสถานที่เข้ารับการอบรม พักผ่อน และเป็นที่พักของช่างฝีมือหญิง ทั้งนี้ การก่อสร้างบูรณะอาคาร “นิชิโอคิมายุโฉะ” จะกำหนดแล้วเสร็จในปี 2019

ผู้เขียน : ฮาเสะกาวะ ฮิโรชิ・มิสะ (บริษัทคุราชิสะ)

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา