HOME พื้นที่โดยรอบมหานครโตเกียว ชิซุโอกะ อะตะมิ ตระการตา! เข้าชมผลงานเซรามิกรีลีฟที่ "CREARE Atami-Yugawara Studio"
ตระการตา! เข้าชมผลงานเซรามิกรีลีฟที่ "CREARE Atami-Yugawara Studio"

ตระการตา! เข้าชมผลงานเซรามิกรีลีฟที่ "CREARE Atami-Yugawara Studio"

Last updated: 30 มี.ค. 2560

เซรามิกรีลีฟ คือ ผลงานศิลปะแผ่นภาพที่รังสรรค์โดยการใช้เทคนิคเครื่องปั้นเซรามิก
ผลงานสีสันสดใส มีมิติโค้งนูน มักใช้ประดับบนกำแพงขนาดใหญ่ของสถานีรถไฟและสนามบิน
ในทีนี้ จะขอแนะนำ "CREARE Atami-Yugawara Studio"
ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการทำเซรามิกรีลีฟของญี่ปุ่น

สามารถเข้าชมขั้นตอนการทำเซรามิกรีลีฟได้

สามารถเข้าชมขั้นตอนการทำเซรามิกรีลีฟได้

จากสถานี "ยูกะวะระ" ของรถไฟสาย JR โทไคโดฮงเซ็น นั่งบัสฮาโกเน่โทซาน 10 นาที
แล้วเดินต่อจากป้ายบัส “โอชิไอบาชิ” 5 นาที จะเจอ "CREARE Atami-Yugawara Studio"
ที่นี่นั้น หากจองไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าชมกระบวนการผลิต "เซรามิกรีลีฟ" ได้ฟรี
สตูดิโอเป็นตึก 2 ชั้น เพดานเปิดทะลุกัน ตรงกลางมีดินที่ใช้สำหรับทำผลงานวางอยู่

โมเดลย่อส่วนก่อนทำของจริง

โมเดลย่อส่วนก่อนทำของจริง

จากการวางแผนจนกระทั่งผลงานเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลา 1 ปี
จึงสามารถชมกระบวนการผลิตได้เพียงบางส่วน
แต่ที่นี่จะแสดงผลงานในอดีตสลับกับชิ้นงานตัวอย่างประกอบการอธิบายอย่างละเอียด
เริ่มแรก สร้างโมเดลย่อส่วนโดยอาศัยภาพตัวอย่างที่ศิลปินเป็นผู้วาด
โมเดลจะถูกสร้างโดยใช้ดินเหมือนกับที่ใช้ในเซรามิกรีลีฟของจริง
เพื่อในประกอบการตัดสินใจว่าจะให้ผลงานมีมิติโค้งนูนอย่างไร

ตรวจสอบโมเดลขนาดใหญ่จากชั้น 2

ตรวจสอบโมเดลขนาดใหญ่จากชั้น 2

ต่อมาเขียนแบบร่างโดยอาศัยโมเดล
สต๊าฟจะปั้นขึ้นรูปไปมองโมเดลและแบบร่างไป จุดนี้จึงเป็นจุดสำคัญ
เนื่องจากผลงานมีขนาดใหญ่ จึงมีการแบ่งส่วนในการปั้นขึ้นรูป
จะมีการตรวจสอบภาพรวมหลายๆครั้งโดยมองจากข้างบน เพื่อให้แน่ใจว่าได้รูปเป็นไปตามที่คิดไว้
สต๊าฟจะปรึกษากันไปเรื่อยๆในขณะที่เดินหน้าสร้างผลงานต่อไป

เซรามิกรีลีฟที่ถูกแบ่งส่วนก่อนเผา

เซรามิกรีลีฟที่ถูกแบ่งส่วนก่อนเผา

เมื่อปั้นขึ้นรูปเสร็จ ขั้นต่อไปคือ "การเผา" แต่ผลงานเซรามิกรีลีฟในมีขนาดใหญ่มาก
ไม่มีเตาที่มีขนาดใหญ่พอ จึงต้องตัดแบ่งผลงานเป็นส่วนเล็กๆก่อนเผา
ระหว่างตัดแบ่งก็ต้องคำนึงว่า "จะตัดแบ่งอย่างไรให้ผลงานออกมาดูมีมิติที่สุด"
เพื่อไม่ให้ส่วนเล็กๆแตกหักในขณะตัดนั้น จำเป็นจะต้องใช้มีดเรียวยาว
จึงได้ทำ "มีดสำหรับตัดเซรามิกรีลีฟ" ที่มีลักษณะคล้ายหอกขึ้นใช้เอง

แบ่งการเผาเป็น 2 ครั้ง

แบ่งการเผาเป็น 2 ครั้ง

เตาเผานั้นแยกเป็นเตาแก๊สและเตาไฟฟ้า แยกใช้ตามลักษณะผลงาน
โดยจะเริ่มเผาที่ 850 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 วัน
หลังจากนั้นจึงมาเคลือบสี แล้วเผาต่อที่ 1230 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่เอาเข้าเตาจนกระทั่งเผาเสร็จใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
เนื่องจากมีการตัดเป็นเป็นส่วนเล็กๆ จึงต้องมีการวางแผนทำสัญลักษณ์เพื่อให้ต่อกลับเข้าถูกที่
แลดูคล้ายกับตัวต่อจิ๊กซอว์ขนาดใหญ่
จะมีการทดลองประกอบชิ้นส่วนที่สตูดิโอเพื่อให้ศิลปินตรวจสอบความเรียบร้อย
และแก้ไขงานขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะนำไปประกอบยังสถานที่จริง

ใช้น้ำยาเคลือบมากกว่า 5000 ชนิดในการเคลือบสี

ใช้น้ำยาเคลือบมากกว่า 5000 ชนิดในการเคลือบสี

เสน่ห์อย่างหนึ่งของเซรามิกรีลีฟคือสีสันที่หลากหลาย ที่นี่จึงมีการใช้น้ำยาเคลือบหลายสิบสี
เพื่อผสมให้ได้สีแต่ละสีที่ตรงตามภาพตัวอย่าง
ส่วนของผิวที่มีความโค้งนูนจะมีการเปล่งสีที่มากขึ้น สร้างความลุ่มลึกได้มากกว่าภาพเขียนธรรมดา
ปัจจุบันมีสีที่ผสมมาแล้วมากกว่า 5000 สี แต่ก็ถือว่ายังไม่พอ

มีสตูดิโอกระจกสีด้วย

มีสตูดิโอกระจกสีด้วย

"ที่นี่ มีการทำผลงานกระจกสี(Stained glass)ด้วย
มีสตูดิโอทำกระจกสีอยู่ในอาคารเดียวกัน สามารถเข้าชมได้
กระจกที่ใช้ในผลงานนั้น เป็นกระจกชั้นเยี่ยมที่มีพื้นผิวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีการไล่สีที่สวยงาม
ที่สตูดิโอมีการประดับงานกระจกสีไว้มากมาย ส่องประกายระยิบระยับตามแสงจากธรรมชาติ

ค่าเข้าชมฟรี (ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน)
วันหยุดทำการ : วันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ
เวลาเข้าชม : 13.00 – 18.00
ใช้เวลา : ประมาณ 1 ชั่วโมง
จองภาษาอังกฤษ, ต้อนรับทัวร์ภาษาอังกฤษ : ไม่มี"

Written by : Haruna Saito

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา