HOME วิธีการเข้าสักการะวัดและศาลเจ้า
วิธีการเข้าสักการะวัดและศาลเจ้า

วิธีการเข้าสักการะวัดและศาลเจ้า

Last updated: 27 ก.ค. 2563

วัดและศาลเจ้ามีจุดที่เหมือนกันมากมาย แต่โดยพื้นฐานแล้ว สถานที่นั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ศาลเจ้าที่อยู่ในศลเจ้าศาสนาชินโตนั้น จะเป็นที่สถิตของเหล่าเทพเจ้า ส่วนวัดที่เป็นสถานที่ของศานาพุทธนั้น จะเป็นที่สำหรับเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าและที่อยู่ของพระสงฆ์ นอกจากนี้วิธีการคิดของแต่ละศาสนาก็แตกต่างกันจึงทำให้วิธีการสักการะจึงแตกต่างกันด้วย ในครั้งนี้ขอนำเสนอวิธีการสักการะของทั้ง2ศาสนาให้ได้ทราบกัน

การเข้าในอาณาเขตของเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า

การเข้าในอาณาเขตของเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า

การเข้าไปสักการะวัดหรือศาลเจ้า จะเรียกว่า “Omairi” โอะไมริ คือการสงบจิตใจตนเองและเป็นการขออภัยที่ได้ย่างกายเข้ามาสู่อาณาเขตของเทพเจ้า ซึ่งเป็นมารยาทที่เข้มงวดอย่างยิ่ง
ในกรณีที่ไปศาลเจ้า ก่อนอื่นจะต้องเดินผ่านโทริอิ ไม่ว่าศาลเจ้าใดๆทางเข้าก็จะมีโทริอิ ก่อนที่จะเดินผ่านโทริอินั้นควรที่ตระหนักว่าเป็นอาณาเขตของเทพเจ้า
ในกรณีที่ไปวัด จะเดินผ่านเข้าทางประตูวัด ไม่ว่าจะอย่างไรควรสำรวมจิตใจ และรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็นซึ่งอยู่รอบๆตัว

การชำระล้างด้วยโชสุยะ

การชำระล้างด้วยโชสุยะ

ไม่ว่าจะเป็นศาลเจ้าหรือวัด จะมีบ่อน้ำซึ่งเรียกว่า”โชสุยะ” ไว้ให้ผู้ที่จะเข้ามาสักการะเทพเจ้าได้ชำระล้างร่างกายและจิตใจ ขอแนะนำวิธีการใช้ “โชสุยะ” ที่ถูกต้องดังนี้
1.อันดับแรกใช้มือขวาถือกระบวยและตักน้ำขึ้นมา แล้วใช้น้ำราดมือด้านซ้าย
2.เปลี่ยนมาถือกระบวยด้วยมือซ้ายและราดน้ำลงที่มือขวา
3. ใช้มือขวาตักน้ำด้วยกระบวยอีกครั้ง แล้วรองน้ำใส่ในมือซ้าย จากนั้นก็นำน้ำกลั้วปากและล้างใบหน้าเล็กน้อย ในตอนนี้เองอย่าดื่มน้ำนั้น ให้บ้วนลงด้านล่าง(ไม่ควรบ้วนแรงเพราะจะทำให้กระเด็นโดนผู้อื่นได้)
4.ล้างมือซ้ายอีกครั้ง และล้างกระบวยด้วยน้ำที่เหลือ แล้วจึงเก็บไว้ที่เดิม

วิธีการทำความเคารพ

วิธีการทำความเคารพ

เช่นเดียวกับการชำระล้างร่างกาย ผู้ที่เข้ามาสักการะหรือผู้ที่เข้าร่วมพิธี ศาลเจ้านั้นจะใช้วิธีการแบบ “นิเระ นิฮักคุชุ อิจิเระ” คือการโค้งคำนับ2ครั้ง ปรบมือ(เอามือประสานกันให้พอมีเสียง)2ครั้ง และโค้งคำนับ1ครั้ง ส่วนศาลเจ้านั้นให้พนมมือสวดมนต์

ในกรณีที่เป็นศาลเจ้า
1.ก่อนอื่นให้หย่อนเหรียญลงในตู้รับบริจาคด้านหน้า
2.ให้สั่นกระดิ่ง2ครั้ง โค้งคำนับ อธิษฐานและปรบมือ2ครั้ง
3.สุดท้ายให้โค้งคำนับอีกครั้ง

ในกรณีที่เป็นวัด
1.ก่อนอื่นให้หย่อนเงินลงตู้บริจาค
2.ถ้ามีกระดิ่งให้สั่นกระดิ่งแล้วพนมมืออธิษฐานไว้ที่กลางอก
3.สุดท้ายให้โค้งคำนับ1ครั้ง

ฮธิษฐาน? ขอพร? ให้คำสัญญา?

รายละเอียดของการสักการะ เพื่อที่จะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นขอใช้คำว่า “อิโนริ” (การอธิษฐาน)
ในความเป็นจริงทั้งศาสนาชินโตและศาสนาพุทธนั้นการอธิษฐานขอพรนั้นจะแตกต่างกัน ที่ศาลเจ้าจะอธิษฐานขอพรให้มีความสุข ส่วนวัดนั้นจะอธิษฐานเมื่อตายไปขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ อีกทั้งผู้ที่เข้ามาสักการะที่ศาลเจ้าอธิษฐานในการทำสิ่งใหม่ๆ ปล่อยวางสิ่งไม่ดี ส่วนผู้ที่ไปไหว้พระที่วัดนั้นจะละทิ้งกิเลสและอธิษฐานละปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

เซียมซีและเครื่องรางนำโชค

เซียมซีและเครื่องรางนำโชค

ที่ศาลเจ้านั้น สิ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นคือ เครื่องราง เครื่องรางโดยทั่วไปจะมีมากมายหลาหหลายแบบ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับขอพรในเรื่องการเรียน การงาน สุขภาพ ความรัก มี่ทั้งแบบอยู่ในถุงเล็กๆสีสันสดใด หรือเป็นพวงกุญแจไว้ห้อยกระเป๋าหรือโทรศัพท์มือถือ หรือแบบที่วางไว้บนโต๊ะหรือในรถ
เซียมซีนั้นก็เป็นสิ่งที่นิยมไม่แพ้กันทั้งที่ศาลเจ้าและวัด คำทำนายในเซียมซีนั้นจะกล่าวถึงเรื่องการงาน สุขภาพ และการแต่งงาน โดยเซียมซีนั้นจะเป็นกระดาษม้วนเล็กๆบรรจุอยู่ภายในกล่องไม้ ซึ่งในนั้นจะมีเซียมซีใบที่โชคดีที่สุด และโชคร้ายที่สุด เมื่ออ่านใบเซียมซีแล้วทางศาลเจ้าหรือวัดจะเตรียมไม้ไว้ให้สำหรับนำใบเซียมซีนั้นไปผูก ซึ่งเชื่อว่าการนำไปผูกนั้น หากเป็นเซียมซีที่โชคดีนั้นขอให้เทพเจ้าหรือพระเจ้าคุ้มครอง ส่วนถ้าได้เซียมซีที่ไม่ดีก็ถือว่าฝากความโชคร้ายผูกติดไว้ที่นั้น

สรุปทั่วไป

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ไม่เชื่อในเรื่องศาสนา แต่อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันก็ยังมีคนส่วนใหญ่ไปไหว้พระสักการะเทพเจ้ากัน ซึ่งพระพุทธศาสนาและศาสนาชินโตยังคงฝังรากลึกในชีวิตของประจำวันของชาวญี่ปุ่น
ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นในศตวรรษที่21เท่านั้น ยังได้สัมผัสถึงประเพณีและปรัชญาของญี่ปุ่นในสมัยโบราณ
เราจึงอยากให้คุณได้ลองเข้าไปไหว้พระที่ศาลเจ้าหรือวัด

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา