HOME ระบบการขอภาษีคืนของญี่ปุ่น
ระบบการขอภาษีคืนของญี่ปุ่น

ระบบการขอภาษีคืนของญี่ปุ่น

Last updated: 1 พ.ค. 2563

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปเดินที่ไหนก็มักจะเห็นป้ายเขียนว่า “Tax Free” เต็มไปหมด นั่นก็เพราะว่าร้านขายสินค้า
ปลอดภาษีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง และเมื่อเดือน
พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับระบบการขอยกเว้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า VAT ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ให้มีความสะดวกสบายในการช็อปปิ้งมากยิ่งขึ้น ทีนี้เรามาดูกันว่าระบบการยกเว้นภาษีของญี่ปุ่นตอนนี้
เป็นแบบไหน รับรองว่าการช็อปปิ้งที่ญี่ปุ่นครั้งต่อไปจะสนุกมากขึ้นแน่นอน

ไม่ว่าจะซื้อร้านไหนก็ขอภาษีคืนได้หรอ?

ไม่ว่าจะซื้อร้านไหนก็ขอภาษีคืนได้หรอ?

การขอภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT คืนนั้น สามารถทำได้เฉพาะการซื้อสินถ้าจากร้านค้าภายในสนามบิน
ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานสรรพากรของญี่ปุ่นเท่านั้น
ในปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เอาท์เล็ทมอลล์ และย่านช็อปปิ้งต่างๆของญี่ปุ่นเริ่มมีการจัดทำ
เคาน์เตอร์สำหรับขอคืนภาษีเพิ่มมากขึ้น แม้แต่ร้านขายปลีกเล็กๆบางร้านก็สามารถขอคืนภาษีได้เช่นกัน
ถ้าร้านนั้นๆได้มีการแปะป้ายสัญลักษณ์ร้านค้าปลอดภาษี (รูปด้านล่าง) ไว้

ป้ายสัญลักษณ์ร้านปลอดภาษี
ป้ายสัญลักษณ์ร้านปลอดภาษี

คนที่ไม่สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้มีใครบ้างล่ะ?

คนที่ไม่สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้มีใครบ้างล่ะ?

・ ผู้ที่เข้าประเทศผ่านประตูอัติโนมัติที่สนามบิน และไม่มีตราปั๊มแสดงวันที่เข้าประเทศอยู่ในพาสปอร์ต
・ ผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาเกิน 6 เดือน
・ ผู้ที่ทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
・ ยอดชำระค่าสินค้าไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

ระบบการขอคืนภาษีนั้นมีไว้สำหรับบุคคลที่ไม่ถือว่าไม่เป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งบุคคลที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นคือ ชาวต่างชาติที่มีกำหนดการพำนัก
อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยอยู่ในต่างประเทศ
และมีกำหนดการกลับมาพำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

ยอดชำระสินค้าขั้นต่ำคือเท่าไหร่?

ยอดชำระสินค้าขั้นต่ำคือเท่าไหร่?

ตามปกติแล้วคือ ยอดการซื้อสินค้าในร้านค้าเดียวกันภายใน 1 วัน เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 เยน
(ไม่รวมภาษี) สำหรับห้างสรรพสินค้าหรือย่านช็อปปิ้งที่มีเคาน์เตอร์ทำเรื่องขอคืนแยกภาษีนั้น
สามารถรวมใบเสร็จของร้านค้าภายในศูนย์การค้านั้นๆได้ โดยที่จะต้องมียอดซื้อสินค่าเป็นมูลค่า
มากกว่า 5,000 เยน (ไม่รวมภาษี) แต่ว่า สินค้าแต่ละประเภทนั้นมีการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่แตกต่าง
กันไป ซึ่งอาจจะทำให้มูลค่ารวมที่สินค้าที่นำมาคำนวน มียอดไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดได้

สินค้าที่เข้าเกณฑ์การขอคืนภาษีมีอะไรบ้าง?

สินค้าที่เข้าเกณฑ์การขอคืนภาษีมีอะไรบ้าง?

สำหรับบุคคลที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนั้น จะถือว่าการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นเป็น
การซื้อเพื่อใช้เอง มิใช่เพื่อธุรกิจ โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีการนำสินค้าที่ซื้อมาออกไปนอกประเทศ
ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินค้าทั่วไป และสินค้าอุปโภคบริโภค

ข้อควรระวังในการขอคืนภาษีสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าอุปโภคบริโภคนั้นจะถูกบรรจุใส่ในถุงสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะ (ถุงที่ถูกออกแบบ
มาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรู้ได้หากมีการเปิดถุง) และห้ามเปิดถุงดังกล่าวก่อนออกนอกประเทศ
สำหรับยอดรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทั่วไปนั้นจะไม่นำมาคิดรวมกันเวลาขอคืนภาษี
ดังนั้นควรจะตรวจสอบมูลค่าและประเภทของสินค้าให้รอบคอบ ซึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำในการขอภาษีคืนนั้นคือ
มูลค่ารวมของสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมด หรือมูลค่ารวมของสินค้าทั่วไปทั้งหมด จะต้องมีมูลค่า
เกิน 5,000 เยน (ไม่รวมภาษี)

ขั้นตอนการขอภาษีคืน

ขั้นตอนการขอภาษีคืน

ขั้นตอนการขอภาษีคืนนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละร้านค้า แต่หลักจะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน คือ
(A) แสดงพาสปอร์ตตอนชำระเงิน เพื่อหักภาษีออกจากราคาทันที
(B) หลังจากที่ชำระค่าสินค้าทั้งหมดแล้ว จะต้องไปทำเรื่องขอรับเงินภาษีที่จ่ายไปคืน ณ เคาน์เตอร์
สำหรับขอภาษีคืน ซึ่งเมื่อไปถึงแล้ว จะต้องมีการแสดงสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมด ใบเสร็จ และพาสปอร์ต
โดยจะต้องขอภาษีคืนภายในวันที่มีการซื้อสินค้า

<สิ่งที่ต้องทำที่ร้านค้าเมื่อต้องการขอภาษีคืน>
1) แสดงพาสปอร์ต
ผู้ซื้อสินค้าจะต้องทำการแสดงพาสปอร์ตของตนเอง (ต้องเป็นพาสปอร์ตตัวจริงเท่านั้น) โดยทางร้าน
จะทำการตรวจสอบ ชื่อ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด สถานะการพำนัก วันที่เดินทางเข้าประเทศ
และรหัสพาสปอร์ต

2) กรอกข้อมูลสินค้าที่ซื้อ
ทางร้านจะกรอกข้อมูลสินค้าที่ซื้อลงในใบ “บันทึกรายการสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก” จากนั้น
จะทำการติดใบดังกล่าวไว้ในพาสปอร์ตของผู้ซื้อสินค้า ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาเก็บไปในตอนที่เดินทาง
ออกจากประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นห้ามดึงออกก่อนขึ้นเครื่องบินกลับบ้านเด็ดขาด

3) เซ็นลายมือชื่อผู้ซื้อ
ผู้ซื้อจะต้องเซ้นลายมือชื่อกำกับเพื่อเป็นการตกลงว่าจะทำตามข้อตกลงด้านล่าง
・ จะนำสินค้าทั่วไปออกนอกประเภท
・ จะไม่ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อมา และจะนำออกไปนอกประเทศภายใน 30 วันหลังจากซื้อสินค้า
・ หากไม่ได้นำสินค้าดังกล่าวติดตัวไปด้วยในวันที่เดินทางออกนอกประเทศ ก็ยินดีที่จะค่าปรับทั้งหมด

4) การชำระค่าสินค้าและการรับสินค้า
ในกรณีที่เป็นแบบ (A) จะทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และรับสินค้าเลย แต่ถ้าเป็นในกรณี (B) จะเป็นการ
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไป ซึ่งหากมีการขอคืนสินค้าในภายหลังจนทำให้มุลค่ารวมของสินค้าทั้งหมด
ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การขอภาษีคืนจะถือว่าเป็นโมฆะ และจะต้องมีการชำระภาษีทั้งหมด

<สิ่งที่ต้องทำที่สนามบิน
5) แสดงใบบันทึกสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบพาสปอร์ตและสินค้าที่ซื้อมา จากนั้นจะเก็บใบบันทึกรายการสินค้าปลอดภาษีอากรขาออก ซึ่งสินค้าที่ทำการขอภาษีคืนนั้น ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้นำออกนอกประเทศทั้งหมด

6) เดินทางออกนอกประเทศ
หากผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว จะถือว่าขั้นตอนการขอภาษีคืนทั้งหมดเสร็จสิ้นลง

รายชื่อร้านค้าปลอดภาษีหลักๆ

รายชื่อร้านค้าปลอดภาษีหลักๆ

ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าร้านค้าที่มีป้าย “Tax Free” นั้นมีเพิ่มมากขึ้น แม้แต่ร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่
ยังเริ่มมีการขยายสาขาที่เปิดรับบริการขอคืนภาษี ร้านค้าบางร้านก็ถึงขนาดมีบริการพิเศษให้แก่ลูกค้า
ชาวต่างชาติเลยทีเดียว เราได้รวบรวมรายชื่อร้านค้าปลอดภาษีหลักๆมาให้คุณที่ลิสด้านล่างนี้แล้ว

ยูนิโคล่
กว่า 760 สาขา ทั่วประเทศได้มีการเปิดให้บริการขอภาษีคืน
บิ๊กคาเมร่า
เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิขอภาษีคืนจะไม่สามารถทำการสะสมพ้อยได้ จึงมีการให้คูปองหรือส่วนลดเมื่อชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตแทน
ยามาดะเด็นกิ
เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิขอภาษีคืนจะไม่สามารถทำการสะสมพ้อยได้ จึงมีการให้คูปองหรือส่วนลดเมื่อชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิตแทน
ดองกิ โฮเต้
กว่า 310 สาขาทั่วประเทศสามารถให้บริการขอคืนภาษีได้ และมีการแจกบัตรสมาชิกสำหรับ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ “Yokoso Discount Passport” ซึ่งมีสิทธิพิเศษต่างๆมากมาย
มัทสึโมโตะ คิโยชิ
กว่า 220 สาขาทั่วประเทศ เปิดให้บริการขอคืนภาษี
อิออน
กว่า 630 สาขาทั่วประเทศ เริ่มเปิดให้บริการขอคืนภาษี ในจำนวนนี้ไม่รวมร้านค้าที่เป็นของ
ห้างอิออนมอลล์ (การบริการอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา) และมีการแจกคูปองส่วนลดพิเศษ
ที่หน้าโฮมเพจ
เอาท์เล็ทมอลล์
Shisui Premium Outlets
Okinawa Outlets Mall Ashibinaa
อื่นๆ ห้างสรรพสินค้าต่างๆ
Odakyu Shinjuku
Keio  
Tobu Ikebukuro
Tokyu Plaza Ginza
Matsuya Ginza
Lumine Shinjuku เป็นต้น
อื่นๆ (รับบริการขอคืนภาษีที่แคชเชียร์)
ร้านสะดวกซื้อ
* เฉพาะบางสาขา
* จำเป็นต้องแสดงพาสปอร์ตที่แคชเชียร์
เซเว่น-อีเลฟเว่น
แฟมิลี่มาร์ท
ลอว์สัน

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ 1
“Duty Free (DFS)” กับ “Tax Free” ต่างกันอย่างไร?

คำตอบ
การยกเว้นภาษีนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) ศุลกากรไม่เก็บภาษีหรือที่เรียกว่า Duty Free กับ
2) การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกว่า “Tax Free” นั่นเอง ซึ่งร้าน Duty Free มักจะอยู่ตามสนามบิน
ถ้าหากเป็นนอกเขตสนามบินก็จะมีแค่ไม่กี่ร้าน เช่น T Galleria Okinawa จังหวัดโอกินาว่า

คำถามที่ 2
สิ่งที่จำเป็นในตอนที่ซื้อของหรือตอนที่ทำเรื่องขอภาษีคืนมีอะไรบ้าง?

คำตอบ
สิ่งที่จำเป็นในตอนที่ซื้อของก็คือต้องทำการแสดงพาสปอร์ตของผู้ซื้อ (ตัวจริงเท่านั้น) แต่ถ้าหากเป็น
การขอทำเรื่องขอภาษีคืนที่เคาน์เตอร์ทำเรื่องคืนภาษีแล้วล่ะก็ ต้องใช้ พาสปอร์ตตัวจริง ของที่ซื้อ
และใบเสร็จ

คำถามที่ 3
ลืมพาสปอร์ตไว้ที่โรงแรม วันรุ่งขึ้นค่อยมาทำเรื่องขอภาษีคืนได้มั้ย?

คำตอบ
การทำเรื่องขอภาษีคืนนั้นจำเป็นที่จะต้องทำภายในวันเดียวกันกับที่ซื้อสินค้านั้นๆ เพราะฉะนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้องนำพาสปอร์ตติดตัวไปด้วยเสมอ และต้องไปทำเรื่องขอภาษีคืนจากร้านที่ซื้อสินค้านั้นๆ
มาเท่านั้น

คำถามที่ 4
ขอให้คนอื่นช่วยทำเรื่องขอภาษีคืนแทนได้มั้ย

คำตอบ
ไม่สามารถทำได้ ผู้ที่ทำเรื่องขอภาษีคืนจะต้องเป็นผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆเท่านั้น

คำถามที่ 5
ที่พาสปอร์ตไม่มีตราประทับแสดงวันเข้าประเทศเพราะใช้ประตูอัตโนมัติ
แบบนี้จะขอทำเรื่องขอภาษีคืนได้หรือปล่าว?

คำตอบ
ถ้าไม่มีตราประทับแสดงวันที่เข้าประเทศจะได้สามารถทำเรื่องขอภาษีคืนได้ เพราะฉะนั้น หลังจากที่
ออกมาจากประตูอัตโนมัติแล้ว ก็ตรงดิ่งไปขอให้เจ้าหน้าที่ประทับตราแสดงวันที่ไว้เลย

คำถามที่ 6
หลังจากที่ทำเรื่องขอคืนภาษีแล้ว จะเอาของมาใช้ในช่วงที่ยังอยู่ที่ญี่ปุ่นได้มั้ย?

คำตอบ
ถ้าเป็นสินค้าทั่วไป ก็สามารถใช้ได้เลย ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วล่ะก็ห้ามใช้เด็ดขาด
ไม่งั้นการขอภาษีคืนจะกลายเป็นโมฆะนะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

คำถามที่ 7
ของที่ทำเรื่องขอภาษีคืนมาแล้วจะต้องหิ้วขึ้นเครื่อง หรือโหลดลงใต้เครื่อง?

คำตอบ
เนื่องจากศุลกากรของญี่ปุ่นอยู่ถัดจากเคาน์เตอร์เช็คสัมภาระ เพราะฉะนั้น โดยทั่วไปแล้วจะต้องนำของ
ที่ทำการขอคืนภาษีแล้วติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยเพื่อที่ศุลกากรจะสามารถเช็คของได้

คำถามที่ 8
พวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องสำอางที่เป็ฯของเหลวไม่สามารถเอาขึ้นเครื่องไปด้วยได้
แล้วแบบนี้จะทำยังไงดี?

คำตอบ
เนื่องจากการบินระหว่างประเทศมีข้อกำหนดให้ไม่สามารถพวกของเหลวที่มีจำนวนเกิน 100 ml
ติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยได้ ไม่งั้นจะถูกยึดตอนตรวจกระเป๋า ในกรณีแบบนี้ ให้ใส่ไว้ในกระเป๋าแล้ว
โหลดใต้เครื่องได้ ตอนที่ผ่านศุลกากรก็ให้แจ้งว่าได้ทำการใส่สิ่งของเหล่านั้นไว้ที่กระเป๋าโหลดใต้เครื่อง

คำถามที่ 9
หลังจากที่ทำเรื่องขอภาษีคืนเสร็จแล้ว ให้คนอื่นช่วยเอากลับแทนได้มั้ย?

คำตอบ
สิ่งที่ถูกยกเว้นภาษีไม่สามารถส่งต่อให้กับบุคคลที่สามได้ ผู้ที่ถือกลับจะต้องเป็นผู้ที่ซื้อเท่านั้น

Photo credit (main image): Tupungato / Shutterstock.com

1. Discount coupon combined with tax exemption (Don Quijote)

Don Quijote, often referred to as "Donki," is a famous discount chain store known for its eclectic and extensive product range. From electronics and cosmetics to snacks and novelty items, its bustling aisles and late closing hours make it a unique shopping experience.

Now when shopping at Don Quijote, you can get up to 15% off your purchase! Just tap the coupon above and show it to the cashier when checking out. (Conditions apply. See coupon page for details.)

2. Discount coupon combined with tax exemption (Tsuruha Drug Store)

2. Discount coupon combined with tax exemption (Tsuruha Drug Store)

Tsuruha Drugstore is a widespread pharmacy chain in Japan, recognized for its extensive selection of health and beauty products. It's a favored spot for both medicinal needs and cosmetic finds, including popular Japanese skincare and makeup products.

3. Discount coupon combined with tax exemption (Lotte Duty Free Ginza)

3. Discount coupon combined with tax exemption (Lotte Duty Free Ginza)

Lotte Duty Free Ginza, located in Tokyo's upscale Ginza district, is a premium duty-free shop offering a variety of luxury brands and products. From high-end cosmetics and fragrances to designer accessories, it's a prime spot for tax-free shopping in a sophisticated environment.

*This information is from the time of this article's publication.
*Prices and options mentioned are subject to change.
*Unless stated otherwise, all prices include tax.

แชร์บทความนี้

บทความใหม่
ค้นหา